Page 25 - E-Book-Teerapong-รวมผลงานSandbox
P. 25

โครงการจัดตั้งและบริหารงานศูนย์ทดสอบ 5G







                       ระบบควบคุมไฟถนนเดิมที่ใช้งานอยู่แล้วของ  กฟน.  บนพื้นฐานการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มระบบการ
                       สื่อสารด้วยเทคโนโลยี LoRa (ของ CAT) และ NB-IoT (ทั้งของ AIS และ True)

                              ในโครงการนี้   นักวิจัยท าการติดตั้งอุปกรณ์ระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะที่บริเวณหลังโรง

                       อาหาร  คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และทดลองใช้งานจริงพบว่าอุปกรณ์ระบบ
                       ควบคุมไฟถนนอัจฉริยะที่ติดตั้ง  สามารถใช้งานได้จริง  ในการดูค่าพารามิเตอร์ต่าง  ๆ  และการสั่ง

                       ควบคุมการหรี่ไฟ โดยผ่านระบบสื่อสารไร้สายด้วยเทคโนโลยี LoRa และ NB-IoT ในบริเวณนั้น โดย

                       การใช้งานระบบสื่อสารไร้สาย  ส าหรับระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะมีลักษณะใกล้เคียงแบบ  mMTC
                       (Massive Machine Type Communications) ของเทคโนโลยี 5G อีกทั้งฟังก์ชันการใช้งานของระบบ

                       ควบคุมไฟถนนอัจฉริยะจะมีความซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต เช่น การติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์เพื่อวัดค่า

                       ต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นจึงท าให้มีการรับส่งข้อมูลมีปริมาณมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นเทคโนโลยี NB-
                       IoT และ LoRa ในปัจจุบันอาจไม่สามารถรองรับได้ จึงควรมีการทดลองเทคโนโลยี 5G ส าหรับการใช ้

                       งานระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะ โดยนักวิจัยได้วางแผนการทดลองกับเทคโนโลยี 5G ไว้ในปีที่ 2


                       •  โครงการที่ 14 การวิเคราะห์วิดิทัศน์ด้วยการประมวลแบบคลาวด์

                              โครงการนี้ทดสอบระบบการวิเคราะห์วิดีทัศน์  (Video  Analytics)  ซึ่งมีการน าไปใช้งานกัน

                       อย่างแพร่หลาย ทั้งในสมาร์ทโฟนและระบบที่เชื่อมต่อกับกล้องวีดิทัศน์วงจรปิด  เพื่อระบุตัวตนบุคคล
                       ที่เข้ามาในบริเวณกล้องวงจรปิด  ส าหรับการรักษาความปลอดภัย  อย่างไรก็ดี  นักวิจัยพบว่า  วิดีทัศน์

                       จากกล้อง CCTV มีความละเอียดขนาด 1920x1080 จุดภาพ มีรายละเอียดไม่ชัดเจน ท าให้ไม่สามารถ

                       ระบุข้อความ เช่น ป้ายทะเบียนรถยนต์ ได้ จึงท าการทดสอบการสร้างคืนภาพความละเอียดสูง (Super
                       resolution)  เพื่อช่วยให้วิดีทัศน์ต้นฉบับมีความละเอียดและคุณภาพที่สูงขึ้น  และท าการวิเคราะห์

                       วิดีทัศน์ เช่น การตรวจจับใบหน้า เพื่อรู้จ าใบหน้าบุคคล เพื่อระบุตัวตนบุคคล เป็นต้น

                              โครงการนี้ท าการประมวลผลแบบคลาวด์  (ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งจะท าให้ตัวเองกลายเป็น
                       ระบบการท างานต่อเนื่องได้ตลอดเวลา  แม้เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายจะล่มไปบ้าง)  ในการเชื่อม

                       โครงข่าย 5G เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของระบบ เมื่อมีการใช้งานในสภาพแวดล้อมจริง ระบบที่ใช้

                       ทดสอบประกอบไปด้วย สัญญาณวีดิทัศน์ จ านวน 9 ช่องสัญญาณ จากกล้อง 3 ตัวที่ติดตั้งอยู่บริเวณ
                       ชั้น 12 และ 13 อาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสัญญาณ

                       วีดิทัศน์ขนาด 1280x720 จุดภาพ ที่เฟรมเรท 5 เฟรมต่อวินาที และ 1600x1184 จุดภาพ เฟรมเรท

                       25 เฟรมต่อวินาที ซึ่งมีจ านวนบิทเรทรวมเท่ากับ 64 Mbps หลังจากการบีบอัดวีดิทัศน์แบบ H264 ซึ่ง
                       สามารถอัพโหลดผ่านทางโครงข่าย 5G ได้



                       [เลขที่สัญญารับทุน E.๖๒-๐-(๒)-๐๐๑]                                              15

                                                                                        แบบ กทปส. ME-003
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30