Page 24 - E-Book-Teerapong-รวมผลงานSandbox
P. 24

โครงการจัดตั้งและบริหารงานศูนย์ทดสอบ 5G







                                                         ี
                       รับส่งสัญญาระหว่างสองเสา  อย่างไรก็ด  นักวิจัยของโครงการนี้  แจ้งว่าไม่ได้รับความร่วมมือจาก
                       ผู้ประกอบการโครงข่าย 5G ใดๆ แต่ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้จ าหน่ายอุปกรณ์โครงข่าย (vendor)

                       ที่ท าการทดสอบโครงข่าย  5G  แต่ด้วยวันและเวลาที่ได้รับอนุญาตให้บินโดรน  ค่อนข้างจ ากัด  (เป็น

                       ช่วงเวลาเช้า บางวัน จึงมีข้อมูลไม่มากพอ) นักวิจัยไม่พบสภาพอากาศ TINV ในพื้นที่โครงข่าย 5G เลย
                       จึงไม่สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดสภาพอากาศ  TINV  และค่าสัญญาณสื่อสารไร้สายใน

                       ระบบโครงข่าย 5G ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้จัดท าระเบียบวิธีการตรวจวัดสภาพอากาศ TINV จากข้อมูลและการ

                       ทดสอบในโครงข่ายปัจจุบัน ซึ่งสามารถน าไปเก็บข้อมูลในย่านความถี่ของสัญญาณ 5G ได้ในอนาคต


                       •  โครงการที่ 12 การสร้างมิเตอร์อัจฉริยะเฟสเดียวโดยใช้เทคโนโลยี NB-IoT, LoRa, 5G

                              โครงการนี้เสนอแนวทางพัฒนามิเตอร์อัจฉริยะและระบบ  AMI  (Advanced  Metering
                       Infrastructure) เพื่อน าไปใช้งานกับบ้านเรือน หรือที่พักอาศัยทั่วไป ช่วยให้มึเทคโนโลยีที่รองรับตาม

                       แผนพัฒนา smart grid ของประเทศไทย ในพื้นที่เมืองใหญ่ จะมีมิเตอร์อัจฉริยะจ านวนมาก มีลักษณะ

                       ใกล้เคียงการใช้งาน mMTC (massive Machine Type communication) ของ 5G ส าหรับข้อมูล
                       ทางไฟฟ้าที่วัดค่าได้จากมิเตอร์ จะถูกน าไปเก็บไว้บนระบบคลาวด์

                              นักวิจัยได้ท าการทดลองติดตั้งชุดทดสอบมิเตอร์อัจฉริยะ   ในบริเวณโรงอาหาร   คณะ

                       วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทดสอบการส่งข้อมูลทุกๆ 15 วินาที และพบว่า ชุด
                       ทดสอบดังกล่าวสามารถใช้งานได้จริง  จากผลการตรวจสอบค่าความแรงสัญญาณ  (RSSI)  ผ่าน

                                                                     ุ
                       คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ smart phone โดยพบว่าโมดล NB-IoT (True) ให้ความแรงสูงสุด ดีที่สุด
                       เมื่อเปรียบเทียบกับ LoRa (CAT) และ NB-IoT (AIS) ทั้งนี้ นักวิจัยคาดว่า ฟังก์ชันการใช้งานของมิเตอร์
                       อัจฉริยะในอนาคต จะมีความซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลมีมากขึ้นตามไปด้วย เทคโนโลยี

                       NB-IoT  และ  LoRa  อาจไม่สามารถรองรับได้  ควรมีการทดลองใช้งานเทคโนโลยี  5G  เพื่อรองรับ

                       ปริมาณการส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น  และความเสถียรของระบบ  โดยนักวิจัยได้วางแผนการทดลองกับ
                       เทคโนโลยี 5G ไว้ในปีที่ 2



                       •  โครงการที่ 13 การติดตั้งระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะ

                              โครงการนี้ท าการศึกษาวิจัยและทดลองติดตั้งใช้งาน   ระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะโดย
                       ประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยี LoRa และ NB-IoT หรือเทคโนโลยี 5G ซึ่งในอนาคต ระบบการจัด

                       การพลังงานจะเข้ามาอยู่ในทุกภาคส่วนและสอดคล้องกัน    รวมไปถึงระบบไฟถนนสาธารณะด้วย

                       โครงการนี้จึงท าการออกแบบระบบสื่อสารของระบบควบคุมไฟถนนสาธารณะ  โดยพัฒนาต่อยอดจาก


                       [เลขที่สัญญารับทุน E.๖๒-๐-(๒)-๐๐๑]                                              14

                                                                                        แบบ กทปส. ME-003
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29