Page 75 - Bright Spot 2563
P. 75
องค์กรแห่งความสุขที่มีคุณภาพมาตรฐาน
หน่วยงาน สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
ประเด็น Success Story
องค์กรแห่งความสุข คู่คุณธรรม
บทสรุปส าหรับผู้บริหาร
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ มุ่งเน้นนโยบายการสร้างองค์กรแห่งความสุข เพียงพอ เก่ง ดี
ั
่
มีสุข (เพียงพอ คือ การหาคนดี คนเก่ง เข้ามาท างาน / เก่ง คือ พฒนาให้เป็นคนดี คนเกงยิ่งขึ้น / ดี คือ
มีคุณธรรม ธรรมาภิบาลและรักษาสิ่งแวดล้อม มีสุข คือบุคลากรที่ปฏิบัติงานมีความสุขทั้งกายและจิตใจ
มีความรักความผูกพันองค์กร) ปัจจุบันสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ มีผู้ปฏิบัติงานจ านวน 163 คน
มีสัดส่วนของ ผู้ปฏิบัติงานภารกิจหลัก จ านวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 56.44 ภารกิจรอง จ านวน 26 คน
คิดเป็นร้อยละ 15.95 และมีภารกิจสนับสนุน มีจ านวน 4 5 คน คิดเป็นร้อยละ 27.61
ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการ 80 คน คิดเป็นร้อย ละ 49.08 พนักงานราชการ 20 คน คิดเป็นร้อยละ
12.27 พนักงานกระทรวงสาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 25.77 ลูกจ้างประจ า คิดเป็นร้อยละ 12.88 อายุเฉลี่ย
ของบุคลากรสถาบันฯ เฉลี่ย 39 ปี ข้าราชการ 43 ปี พนักงานราชการ 33 ปี พนักงานกระทรวงสาธารณสุข
31 ปี ลูกจ้างประจ า 53 ปี ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่จะอยู่ ในกลุ่ม Generation X และGeneration Y
แนวทางการด าเนินงานของสถาบันฯ ในปี 2563 มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนดี
เมื่อบุคลากรเป็นคนดี องค์กรก็จะเป็นองค์กรของคนดีก็จะน าพาให้เป็นองค์กรคุณธรรมและองค์กร
แห่งความสุข เป็นแนวคิดหลักที่มุ่งด าเนินงานกับกลุ่มเป้าหมายหลักคือ “คนท างานในองค์กร”
ที่ถือเป็นบุคคลส าคัญและเป็น ก าลังหลักของทั้งครอบครัว องค์กร ชุมชน และสังคม มีการส่งเสริม
และพัฒนานโยบาย การสร้างองค์ความรู้ และการขับเคลื่อนเครือข่ายในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต
คนท างาน เมื่อคนท างานในองค์กรมีความสุขและคุณธรรม ย่อมส่งผลดีต่อผลประกอบการ
หรือผลผลิตขององค์กร ความผาสุกในครอบครัว ชุมชน ส่งผลต่อสังคมที่ มีความสุขที่ยั่งยืน
จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามความเจริญของนวัตกรรม
และเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทต่อการด ารงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบที่เชื่อมโยงถึง
กันตั้งแต่บุคคล ครอบครัว สังคม องค์กรและประเทศ แต่ค านึงถึงหลักคุณธรรม จริยธรรมลดลง
การพฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นไปได้ยาก เหตุนี้ในปัจจุบันทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนจึงหันมามอง
ั
ื่
สิ่งที่อยู่ภายในตัวบุคคลมากขึ้น นั่นคือ “ความสุข” เพอมุ่งไปสู่ “องค์กรแห่งความสุข” คือ องค์กร
ที่สามารถกระตุ้น จูงใจ สร้างความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจให้ทุกคนในองค์กรสร้างความรู้สึก
เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรพร้อมปฏิบัติภารกิจขององค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีแนวคิดหลักที่มุ่งด าเนินงานกับบุคลากรที่ถือเป็นบุคคลส าคัญ
61