Page 36 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 36

13


               ๒.๒ การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์

                       สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด ศึกษาเอกสาร วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากหนังสือ
               แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู” (๒๕๖๓) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

               ขั้นพื้นฐาน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ดังนี้
                       ๒.๒.๑ หน่วยการเรียนรู้...ช่วยครูได้อย่างไร

                       สิ่งใดๆ ก็ตามจะมีความหมายขึ้นก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นมีความจำเป็นและขาดไม่ได้ สิ่งนั้นเป็นประโยชน์ใน
               การดำรงชีวิตในปัจจุบันหรือเตรียมสู่อนาคต หรือสิ่งนั้นมีคุณค่าทางร่างกายอารมณ์ จิตใจ และพัฒนา
               สติปัญญาเพียงไร ประวัติศาสตร์ก็เช่นกัน ถ้าครูประวัติศาสตร์ตอบได้ว่าประวัติศาสตร์มีคุณค่าและความสำคัญ

               อย่างไรทั้งต่อผู้สอนเอง ต่อผู้เรียน ต่อท้องถิ่น ต่อประเทศชาติหรือต่อโลกได้ชัดเจนเพียงระดับใดระดับหนึ่ง
                                                            ั
               การสอนประวัติศาสตร์ก็จะมีความหมายส่งผลต่อการพฒนาได้ ในอดีตที่ผ่านมาพฤติกรรมการสอนของครูบาง
               คนที่ไร้วิญญาณความเป็นครูได้ทำให้เกิดข้อครหาขึ้นหลายประเด็น เช่น ไม่ชอบศึกษา ไม่หาวิธีการสอน
               ขั้นตอนไร้สื่อ ได้ชื่อแค่นักประเมิน เพลินอยู่แต่ในห้อง สอนได้เพียงแค่จดจำ ไม่นำพาสภาพแวดล้อมรอบตัว

               สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ประกาศให้ทุกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดการเรียนการสอน
               วิชาประวัติศาสตร์สัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง ตลอดทั้งปี ครูผู้สอนประวัติศาสตร์จะต้องจัดการเรียนรู้วิชา

               ประวัติศาสตร์ รวมทั้งสิ้น ๔๐ ชั่วโมง แล้วครูจะสอนอย่างไร หรือจะนำอะไรไปสอนซึ่งครูจะต้องปรับ
               พฤติกรรมและพฤติการณ์ในการสอนของตนเสียใหม่เป็น ชอบศึกษาค้นคว้าวิชาการ จินตนากว้างไกล
               หลากหลายวิธีสอน ทุกขั้นตอนมีสื่อน่าเชื่อถือประเมินผลงาน ศึกษาสถานที่จริง แต่เพียงการเปลี่ยนพฤติกรรม

               และพฤติการณ์เท่านั้น ใช่ว่าจะแก้ปัญหาการสอนประวัติศาสตร์ “สอนอย่างไรจึงจะดี” ได้ทุกคน ถึงตอนนี้ครู
               จำเป็นจะต้องค้นคว้าค้นหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการจัดการเรียนการสอน

                       อย่างไรก็ตามการจะให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ครูเป็นเพียงผู้กำกับ โดยการวางแผนให้สอดคล้องกับความ
               สนใจและต้องการที่จะเรียนรู้ของผู้เรียน โดยอาศัยพฤติกรรมอยากรู้อยากเห็นของเด็กนำไปสู่กิจกรรมที่

               สร้างสรรค์ เกิดจินตนาการในการเรียนรู้ จัดกิจกรรมให้นักเรียนปฏิบัติอย่างหลากหลาย ตามปรัชญาการสอน
               ที่ว่า “สอนคน ไม่ใช่สอนหนังสือ” เพื่อให้นักเรียนสามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา และมีคุณลักษณะ ค่านิยม และ

               เจตคติ ที่จำเป็น ทางเลือกหนึ่งก็คือสร้างหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพขึ้น หน่วยการเรียนรู้
               ประวัติศาสตร์ จะมีบทบาทสำคัญช่วยลบล้างข้อครหาข้างต้น และเป็นเครื่องสนับสนุนความเป็นเลิศทาง
               วิชาการของครูผู้สอน เพราะหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์คือ แผนการเรียนรู้ที่ประมวลเนื้อหา ประสบการณ์

               แนวคิด วิธีการ กิจกรรม สื่อการเรียนการสอน การวัดประเมินผลเข้าไว้อย่างกลมกลืน สัมพันธ์และครอบคลุม
               สอดคล้องกันกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนดในแต่ละปีการศกษา โดยหน่วยการเรียนรู้
                                                                                   ึ
               เป็นหน่วยประสบการณ์ที่จัดไว้อย่างตั้งใจ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ มีชิ้นงานและคุณลักษณะตามที่
               คาดหวัง หน่วยการเรียนรู้ จึงเป็นสิ่งที่จะตอบโจทย์ดังกล่าว เพราะมีความสมบูรณ์มีความพร้อมที่จะสามารถให้
               ครูนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ในทันที

                       ๒.๒.๒ ทำอย่างไร...จึงจะได้หน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
                       การสร้างหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผู้จัดทำหน่วยการเรียนรู้จะต้องนำคำอธิบายรายวิชา

               (รายละเอียดภาคผนวก) ซึ่งประมวลไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา มาวิเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ โดย
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41