Page 40 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 40
17
ประเมินการปฏิบัติ (Performance Assessment) ร่วมกับการประเมินด้วยวิธีการอื่น ภาระงาน (tasks) ควร
สะท้อนภาพความเป็นจริงหรือใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากกว่าการปฏิบัติกิจกรรมทั่วไป ดังนั้นการประเมินสภาพ
์
จริงจะต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้และประเมินผลไปด้วยกัน และกำหนดเกณฑการประเมิน (Rubrics) ให้
สอดคล้องหรือใกล้เคียงกับชีวิตจริง
๑๑. การประเมินตนเองของผู้เรียน (Student Self-assessment) การประเมินตนเอง นับว่าเป็นทั้ง
เครื่องมือประเมินและเครื่องมือพัฒนาการเรียนรู้ เพราะทำให้ผู้เรียนได้คิดใคร่ครวญว่าได้เรียนรู้อะไร และ
ผลงานนั้นทำได้ดีเพียงใด ทั้งยังสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้เกณฑ์การประเมินที่บ่งบอก
ความสำเร็จของชิ้นงาน/ภาระงาน และมาตรการการปรับปรุงแก้ไขตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินตนเอง
มีหลายรูปแบบ เช่น การอภิปรายการเขียนสะท้อนผลงาน การใช้แบบสำรวจ การพูดคุยกับผู้สอน เป็นต้น
๑๒. การประเมินโดยเพื่อน (Peer Assessment) เป็นเทคนิคการประเมินอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าจะ
นำมาใช้ในการพัฒนาผู้ เรียนให้เข้าถึงคุณลักษณะของงานที่มีคุณภาพเพราะการที่ผู้เรียนจะบอกได้ว่างานชิ้น
ื่
นั้นเป็นเช่นไร ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนว่าเขากำลังตรวจสอบประเด็นใดในงานของเพอน
ฉะนั้น ผู้สอนต้องอธิบายผลการเรียนที่คาดหวังให้ผู้เรียนทราบก่อนที่จะลงมือประเมิน การที่จะสร้างความ
มั่นใจว่าผู้เรียนเข้าใจการประเมินรูปแบบนี้ควรมีการฝึกผู้เรียน โดยผู้สอนอาจหาตัวอย่างให้นักเรียนร่วมกัน
ตัดสินว่าควรประเมินอะไรและควรให้คำอธิบายเกณฑที่บ่งบอกความสำเร็จของภาระงานนั้น จากนั้นให้ผู้เรียน
์
ประเมินงานตามเกณฑ์ที่ร่วมกันสร้างขึ้น จากนั้นครูตรวจสอบการประเมินของผู้เรียนและให้ข้อมูลป้อนกลับ
แก่ผู้เรียน
ขั้นที่ ๓ การออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เมื่อผู้สอนเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายการ
เรียนรู้ และหลักฐานเป็นรูปธรรมแล้วเริ่มวางแผนการจัดการเรียนรู้โดยอาจตั้งคำถามสำหรับตนเอง ดังนี้
๑. ความรู้และทักษะอะไร จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
๒. กิจกรรมอะไร จะช่วยให้ผู้เรียนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
๓. สื่อการสอนอะไร ถึงจะเหมาะกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ
๔. การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่
ี่
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์นั้น กิจกรรมการเรียนรู้ปกติทครูผู้สอนมักใช้กันมาก
ได้แก่ การให้อ่านจากหนังสือ ตำรา หนังสืออ้างอิง แล้วสรุปรายงานเป็นรูปเล่มหรือรายงานปากเปล่า การเล่า
ื่
เรื่อง (Story Telling) เพอให้นักเรียนเห็นภาพที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ การศึกษาเรื่องราวจากบทความหรือ
ใบงานที่ครูเตรียมไว้ให้แล้วตอบคำถาม
กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่ดี ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรได้ทั้งสิ้น
ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการใช้วิธีการสอนนั้นๆ เป็นสำคัญ การให้นักเรียนตอบคำถามนอกจากถามเรื่อง
ข้อเท็จจริงหรือข้อมูลในเรื่อง ก็ควรมีการถามคำถามที่ช่วยให้นักเรียนได้คิดมากขึ้น ให้แสดงความคิดเห็นและ
กระตุ้นให้ไปศึกษาหาข้อมูลต่างๆ มาสนับสนุนความคดเห็นของตนเอง
ิ
นอกจากกิจกรรมการเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้ว ครูผู้สอนจำนวนหนึ่งก็มีความพยายามนำนวัตกรรม
การสอนแบบต่างๆ ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ให้ผู้เรียนเกิดความรักชาติ ภาคภูมิใจใน
ความเป็นไทย และมีทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การใช้หนังสือการ์ตูนประวัติศาสตร์ การชมภาพยนตร์
ประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ในเอกสารฉบับนี้ได้รวบรวมตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการนำไปใช้จริงของ