Page 41 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 41
18
ครูผู้สอนในส่วนที่ ๓ ของเอกสารนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการพัฒนาครูผู้สอน
ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระประวัติศาสตร์ในหลายมิติ ในด้านการจัดการเรียนรู้ ได้มีการส่งเสริม
ให้ครูได้ใช้วิธีการสอนที่จะช่วยให้การจัดการเรียนรู้มีคุณภาพมากขึ้น ใน ๓ เรื่อง คือ
๑. การใช้เอกสารและหลักฐานชั้นต้นเป็นสื่อ จากการดำเนินการพัฒนาครูผู้สอนประวัติศาสตร์ได้มี
การนำเสนอให้ครูผู้สอนได้เห็นความสำคัญในการใช้เอกสารและหลักฐานชั้นต้นในฐานะที่เป็นสื่อการเรียนรู้อัน
ทรงคุณค่าของการสอนประวัติศาสตร์ ในระดับชั้นประถมอาจให้นักเรียนได้ศึกษา สืบค้นจากหลักฐานง่ายๆ
เช่น รูปภาพเก่าของคนในครอบครัว จดหมายหรือโทรเลขที่สะสมไว้ แผ่นป้ายประกาศต่างๆ ขยายไปสู่เอกสาร
ทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่ผู้สอนอาจตัดบางตอนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ นอกจากนี้สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพนฐานได้เชิญบุคลากรในสังกัดเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ “๑๐๐ เอกสารสำคัญ :
ื้
สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย” ที่ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส เป็นหัวหน้าโครงการ โดยการ
สนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีการรวมเล่มบทความวิจัยเอกสารมาแล้วหลายฉบับ
เอกสารจากโครงการวิจัยนี้สามารถเลือกนำมาเป็นสื่อการจัดการเรียนรู้ได้อย่างดี เนื่องจากมีทั้งหลักฐานที่เป็น
จารึก เช่น จารึกพระธาตุศรีสองรัก งานภาษา และวรรณกรรม เช่น หนังสือหลักภาษาไทยของพระยาศรีสุนทร
โวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เอกสารต่างประเทศเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย เช่น สยามชาติ-สยามชนในรัชสมัย
พระเจ้าปราสาททอง:ภาพสะท้อนจากจดหมายเหตุไคสแบร์ต เฮ็ก (Gi jsbert Heeck) และเอกสารที่ เกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เช่น “สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑล
นครราชสีมาและมณฑลอุดรอีสาน ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙)” เป็นต้น
๒. การใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นสื่อและแหล่งเรียนรู้ ในประเทศไทยมีสถานที่สำคัญต่างๆ
ที่ เป็นแหล่งเรียนรู้ มีทั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ชุมชนแหล่งโบราณสถาน ครูผู้สอนสามารถ
เลือกใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับบทเรียนในห้องเรียนโดยเน้นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับชุมชน
ที่นักเรียนอาศัยอยู่ในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้ขั้นต้นของนักเรียน ที่นักเรียนควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตนเอง ก่อนที่จะขยายไปสู่การเรียนรู้ ที่อยู่ไกลตัวออกไป การจัดการ
ศึกษาแนวนี้เน้นให้นักเรียนมีสำนึกเกี่ยวกับสถานที่ (sense of place) ที่มีส่วนรับผิดชอบและใช้ความรู้ที่เรียน
มาไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ตนเองอยู่ การเรียนรู้ในลักษณะนี้จึงรวมไปถึงกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือ
ปฏิบัติ (hand-on activities) และการเรียนรู้แบบโครงงาน (project-based learning)
๓. การทำโครงงานทางประวั ติศาสตร์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑
กำหนดตัวชี้ วัด ส ๔.๑ (๒) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ กำหนดไว้ว่า “สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์
โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ” และสาระการเรียนรู้แกนกลางในสาระนี้ระบุชัดเจนว่า “ผล
การศึกษาหรือโครงงานทางประวัติศาสตร์” โครงงานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้
ผู้เรียนได้สืบค้นเรื่องราวในอดีตในสังคมมนุษย์ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง (มิติของเวลา)
โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยทั่วไปการทำโครงงาน ไม่ว่าจะเป็นรายวิชาใดก็ตามจะเป็นกระบวนการ
ศึกษาค้นคว้าของผู้เรียนที่มีลักษณะเฉพาะหลายประการ เริ่มต้นคือ ประเด็นเรื่องที่จะสืบค้น ต้องมาจากความ
สนใจของผู้เรียน วิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ๖ ขั้นตอน คือ (๑) ตั้งประเด็นศึกษา (๒)
รวบรวมข้อมูลจากหลักฐาน (๓) วิเคราะห์ตรวจสอบหลักฐาน (๔) การตีความหลักฐาน (๕) การสังเคราะห์
ข้อมูล และ (๖) การนำเสนอผลการศึกษา