Page 42 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 42
19
ผลที่เกิดขึ้น คือ ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์แม้ว่าโครงงาน หรือการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้งอกงามในทุกมิติตามศักยภาพและความสนใจ แต่ครู
้
ประวัติศาสตร์ยังคงแสดงความห่วงใยในขอมูลเนื้อหามากกว่าทักษะกระบวนการ และการสร้างเจตคติที่
ถูกต้องต่อความเป็นไทย วัฒนธรรมไทย และภูมิปัญญาไทย ส่วนศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบประวัติศาสตร์ ก็
ั
ยังคงผูกมดตัวเองกับกรอบแนวคิดทางการศึกษา ทฤษฎี และรูปแบบที่ตายตัว ขณะที่บริบทของสังคมในแต่ละ
พื้นที่แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมและเวลา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเราน่าจะย้อนกลับมาพิจารณาการใช้
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ในโครงงานประวัติศาสตร์ให้ชัดเจน
อันที่จริง วิธีการทางประวัติศาสตร์นั้น หลักสูตรกำหนดให้ฝึกทักษะกระบวนการสืบค้นเรื่องราวตาม
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ชั้น ป.๑ (สอบถามและเล่าเรื่อง)และฝึกฝนต่อเนื่องทุกชั้นปีจนถึงชั้น
ม.๓ “ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆที่ตนสนใจ” และ ม.๔-๖ ที่ให้ “ใช้วิธีการทาง
ประวัติศาสตร์สร้างองค์ความรู้ใหม่ในโครงงานทางประวัติศาสตร์”
สำหรับวิธีการทางประวัติศาสตร์นั้น แต่เดิมผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ในระดับปริญญาโทขึ้นไป จะใช้ทุก
ขั้นตอนเป็นกระบวนการหลักในการสืบค้นเรื่องราวในอดีตที่ตนตั้งประเด็นศึกษา“อะไร ที่ไหน ช่วงเวลาใด”
โดยส่วนใหญ่เน้นอยู่ที่การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะศึกษาให้ครอบคลุมครบถ้วน ส่วนหลักฐาน
อื่นๆ นั้นมักใช้เป็นสาระประกอบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร เช่น หลักฐานทางศิลปกรรม พิธีกรรม
สถานที่จริง การสัมภาษณ์บุคคล เป็นต้น
ในปัจจุบันวิธีการทางประวัติศาสตร์ ได้เป็น “ทักษะกระบวนการ” หนึ่งในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
เช่นเดียวกับทักษะในการคิดวิเคราะห์ การสรุป การตีความ และทักษะอื่นๆที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๔๔ และหลักสูตรแกนกลางการศกษาขั้นพนฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้กำหนดให้ผู้เรียนได้
ื้
ึ
เรียนรู้ในทุกชั้นปีต่อเนื่องจนจบหลักสูตร โดยแต่ละชั้นปีจะได้ฝึกฝนทักษะแต่ละขั้นตอน (ไม่ใช่ทุกขั้นตอน)
ดังนี้
ป.๑ : สอบถามและเล่าเรื่องประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว
ป.๒ : ใช้หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ป.๓ : ระบุหลักฐาน และแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนและชุมชน และลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น
ป.๔ : แยกแยะประเภทหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น
ป.๕ : สืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และ
แยกแยะความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น
ป.๖ : อธิบายความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์ (อย่างง่ายๆ) และนำเสนอข้อมูลจากหลักฐาน
ที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเรื่องราวในอดีต
ม.๑ : นำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ (สุโขทัย)
ม.๒ : ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริง
และเห็นความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ (อยุธยากับธนบุรี)
ม.๓ : ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ (รัตนโกสินทร์) และในการศึกษา
เรื่องราวต่างๆ ที่ตนสนใจ