Page 47 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 47
24
๒.๓.๖ สอนประวัติศาสตร์อย่างไรให้ได้ทักษะในศตวรรษที่ 21
ปกติทั่วไปแล้ว วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณอย่างน้อย 3 ด้าน ได้แก่ 1)
์
ด้านความรู้จากเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ 2) ด้านทักษะจากวิธีการทางประวัติศาสตร์ 3) ด้านจิตสำนึกจาก
ประวัติศาสตร์
จากประสบการณ์การสอนที่สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ดมาระยะเวลาหนึ่งทำให้เห็นได้
ว่าผู้สอนทั่วไปสามารถมีวิธีการทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้ง 3 ด้านผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่ไม่น่าเบื่อ
หน่าย เพียงแต่ครูต้องปรับกรอบแนวคิด หรือทัศนคติในการสอนใหม่ (Mindset) กล่าวคือ ครูต้องสำนึกเสมอ
ว่าไม่ได้กำลังสอนนักเรียนทั่วไปให้กลายเป็นนักประวัติศาสตร์ แต่ครูกำลังนำเนื้อหาประวัติศาสตร์มาสร้าง
ทักษะ และจิตสำนึกให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้
เนื้อหาทางประวัติศาสตร์จึงเป็นเสมือนสนามแห่งการฝึกฝนทักษะ และบ่มเพาะจิตสำนึกดังกล่าว หน้าที่
ในการจดจำเนื้อหา จึงเป็นของครูผู้สอนเพื่อเลือกหยิบยกเหตุการณ์เหล่านั้นมาใช้ในห้องเรียน
ครูจึงไม่ควรมอบภาระการท่องจำเนื้อหาให้แก่ผู้เรียนเพราะย่อมทำให้วิชาประวัติศาสตร์นั้นน่าเบื่อ
โดยเฉพาะกับผู้เรียนที่ไม่ชอบการท่องจำ ชั่วโมงประวัติศาสตร์จะกลายเป็นช่วงเวลาแห่งความทรมานอย่างน่า
เสียดายอันที่จริง หากไม่ใช้การท่องจำแต่ใช้วิธีการสอนแบบอื่น ผู้สอนที่เชี่ยวชาญย่อมสามารถทำให้ผู้เรียน
จดจำเนื้อหาได้โดยไม่ยาก เช่น การใช้กิจกรรม เกม เพลง กลอน เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเห็นว่าการใช้วิธีการเหล่านั้นยังไม่สามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุม
ทั้ง 3 ด้าน คือขาดด้านทักษะจากวิธีการทางประวัติศาสตร์ และด้านจิตสำนึกจากประวัติศาสตร์
ด้วยเหตุนี้ จึงขอเสนอแนวทางจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ที่เน้นการสร้างทักษะเป็นสำคัญ
นั่นคือการสร้างทักษะทางประวัติศาสตร์ อันเป็นทักษะสำคัญในศตวรรษท 21
ี่
หลักสูตรแกนกลางการศกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่พุทธศักราช 2551 เป็นต้นมาได้กำหนดทักษะที่ผู้เรียน
ึ
ควรได้รับมาโดยตลอด เช่น ทักษะการเรียงลำดับเวลา ทักษะการวางแผน ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการพูด
ทักษะการฟัง ทักษะการจับใจความ ทักษะการออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ทักษะการนำเสนอข้อมูล
ทักษะในการเลือกใช้หลักฐาน ทักษะการวิเคราะห์ ตลอดจนทักษะการใช้เหตุผล และทักษะการเปรียบเทียบ
เป็นต้น
ครูจึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างทักษะในทุกเนื้อหาในหลักสูตร เช่น เมื่อต้องได้สอนเรื่องหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์ที่มีเนื้อหากล่าวถึงหลักฐานจำพวกตำนาน พงศาวดาร ซึ่งเมื่อใช้การบรรยายเพื่อสร้างนัก
ประวัติศาสตร์นั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญต้องจดจำอย่างถี่ถ้วน
ื่
หากแต่เมอเปลี่ยนทัศนคติจากการสอนเพอให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหา เป็นการสอนเพื่อสร้างทักษะ ครูจึง
ื่
ั
ต้องทำการวิเคราะห์ก่อนว่ามีทักษะใดที่มีความสอดคล้องกบเนื้อหาเหล่านี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหลักสูตรแกนกลาง
นั้นจะกำหนดทักษะที่ผู้เรียนต้องได้รับไว้แล้วตั้งแต่ต้น หากแต่ครูส่วนหนึ่งยังขาดความเข้าใจ ซึ่งไมใช่เรื่องใหญ่
่
แต่เป็นเรื่องต้องพัฒนาต่อไป
กลับมาที่ การสอนเรื่องหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักสูตรอาจกำหนดทักษะที่ผู้เรียนต้องได้รับไว้แล้ว
เช่น ทักษะในการเลือกใช้หลักฐาน ทักษะการวิเคราะห์ ตลอดจนทักษะการใช้เหตุผล เป็นต้น
เมื่อทักษะย่อมเกิดขึ้นผ่านการลงมือทำ หากใช้วิธีการบรรยายนำ ย่อมไม่เกดทักษะเหล่านี้แน่นอน ด้วย
ิ
เหตุนี้ จึงต้องใช้เกมที่เรียกว่านักประวัติศาสตร์เข้ามาช่วย โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้