Page 43 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 43
20
ม.๔-๖ : สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ (ผล
การศึกษาหรือโครงงานทางประวัติศาสตร์)
โครงงานทางการศกษา เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนต้องนำความรู้จากกลุ่มการ
ึ
เรียนรู้ต่างๆ มาบูรณาการ เพื่อกำหนดแผนการทำงาน และสร้างสรรค์งานขึ้นแม้ว่าโครงงานมีหลายประเภท
แต่โครงงานทางประวัติศาสตร์ จะมีลักษณะของการสืบค้นสำรวจและรวบรวมข้อมูล ได้เพียงประเภทเดียว
เท่านั้นการออกแบบการเรียนรู้ ต้องวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่สามารถนำมาจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันได้ โดยหน่วยการเรียนรู้ควรมีองค์ประกอบสำคัญคือ ๑) ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ๒)
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ๓) สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด ๔) สาระการเรียนรู้ ทั้งสาระการเรียนรู้
แกนกลาง และสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้ามี) ๕) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๖) คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๗) ชิ้นงาน/ภาระงาน ๘) การวัดและประเมินผล ๙) กิจกรรมการเรียนรู้ ๑๐) สื่อ/แหล่งเรียนรู้ และ ๑๑) เวลา
เรียน/จำนวนชั่วโมง โดยรายการที่ ๑)-๖) เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ รายการ ๗)-๘) เป็นหลักฐาน
ของการเรียนรู้ และรายการที่ ๙)-๑๑) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งมีแนวในการสร้าง ดังนี้
๑. ชื่อหน่วยการเรียนรู้การกำหนดชื่อของหน่วยการเรียนรู้ ต้องสะท้อนให้เห็นถึง สาระสำคัญหรือ
ประเด็นสำคัญในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ ซึ่งชื่อหน่วยการเรียนรู้ ควรมีลักษณะสำคัญ คือ มีความ
น่าสนใจ โดยอาจเป็นประเด็นปัญหา ข้อคำถาม หรือข้อโต้แย้งที่สำคัญ สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
และสังคมของผู้เรียน และต้องเหมาะสมกับวัย ความสนใจและความสามารถของผู้เรียน
๒. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้นั้น มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ที่นำมา
จัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ต้องมีความสอดคล้อง สัมพันธ์กันและนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันได้
ประการสำคัญ ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาครบถ้วนตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดนั้นๆ
๓. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอดในการเขียนสาระสำคัญหรือความคดรวบยอดจะได้มาจากการ
ิ
วิเคราะห์ สังเคราะห์แก่นความรู้ในสาระการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ซึ่งวิธีเขียนควรเขียนให้สั้น กระชับ ได้ใจความสมบูรณ์ครบถ้วน แนวการเขียน
มีหลักการง่ายๆ ในการเขียน คือ ตอบคำถามว่าเรื่องที่จะเรียนรู้ เป็น อะไร (อย่าใช้คำว่า “คือ”
หรือ “หมายถึง” ซึ่งจะกลายเป็นเนื้อหา) และหรือมีความสำคัญอย่างไร (เรียนแล้วจะได้อะไร)
๔. สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในหน่วยการเรียนรู้
ตามตัวชี้วัด ประกอบด้วย สาระการเรียนรู้แกนกลางและสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้ามี)
๕. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน สามารถวิเคราะห์ได้จากสมรรถนะสำหรับ
ผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และทักษะ/กระบวนการตาม
ธรรมชาติวิชาที่นำมาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ุ
๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์สามารถวิเคราะห์ได้จากคณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตร
ึ
แกนกลางการศกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นไปตามจุดเน้นของเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา
และกลุ่มสาระการเรียนรู้
๗. ชิ้นงาน/ภาระงานชิ้นงาน/ภาระงานที่กำหนด ต้องสะท้อนถึงความสามารถของผู้เรียนจากการใช้
ความรู้และทักษะที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดชิ้นงาน/ภาระงาน เป็นสิ่งที่ครูกำหนด
หรือครูผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกำหนดขึ้นเพอให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ชิ้นงาน/ภาระ
ื่