Page 44 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 44
21
งาน ต้องแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในการเรียนรู้ของผู้เรียน และเป็นร่องรอยหลักฐานแสดงว่าผู้เรียนมีความรู้
และทักษะถึงมาตรฐานและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้ ชิ้นงาน/ภาระงาน อาจเกิดขึ้นได้ใน
ระหว่างการจัดการเรียนการสอน และชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอดที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนได้นำความรู้และ
ทักษะที่ได้จากการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้นั้นออกมา
ตัวอย่างชิ้นงาน
● รายงาน เรียงความ จดหมาย โคลงกลอน หนังสือเล่มเล็ก แผนภาพแผนผัง แผนภูมิ ภาพวาด
กราฟ ตาราง งานประดิษฐ์ งานแสดงนิทรรศการหุ่นจำลอง แฟ้มสะสมงาน ฯลฯ
ตัวอย่างภาระงาน
ู
● การพดรายงานปากเปล่า การอภิปราย การอาน กล่าวรายงาน โต้วาที ร้องเพลง เล่นดนตรี การ
่
เคลื่อนไหวร่างกาย ฯลฯ
ตัวอย่างงานที่ผสมผสานกันระหว่างชิ้นงาน/ภาระงาน
● โครงงาน การทดลอง การสาธิต ละคร วีดิทัศน์ ฯลฯ
๘. การวัดและประเมินผล การวัดและการประเมินผล ควรกำหนดให้ครอบคลุมทั้งระหว่างการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้และเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้ การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผล ตลอดจนเกณฑ์การ
ประเมิน ต้องเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้ครูผู้สอนและผู้เรียนควรตก
ลงร่วมกันสร้างเกณฑ์การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน หรือการปฏิบัติงานเพื่อเป็นแนวทางในการประเมิน
คุณภาพผู้เรียน
๙. กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่สำคัญ การที่ผู้เรียนจะบรรลุเป้าหมายการ
เรียนรู้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จึงต้องจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมด้วยการนำเทคนิควิธีการ
จัดการเรียนรู้ ซึ่งจะนำผู้เรียนไปสู่การสร้างชิ้นงาน/ภาระงาน และสอดแทรกด้วยการใช้ทักษะ (สมรรถนะ
สำคัญของ ผู้ เรียน) กระบวนการตามธรรมชาติ วิชา และคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ ที่กำหนดไว้ในหน่วยการ
เรียนรู้ และประเด็นสำคัญในกิจกรรมการเรียนรู้ต้องมีความหลากหลายและยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
๑๐. สื่อ/แหล่งเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ คือ แหล่งที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ทำ
หน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะประสบการณ์ กระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหา
ความรู้ด้วยตนเองจนเกิดการพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการและเจตคติหรือค่านิยม
๑๑. เวลาเรียน/จำนวนชั่วโมง เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ จะต้อง
วิเคราะห์ความเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จะต้องวิเคราะห์ความเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ให้สอดคล้องกับจำนวนมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ที่ปรากฏในหน่วยการเรียนรู้จากโครงสร้างรายวิชา
๒.๒.๓ อย่างไร...จึงจะเป็นหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ดี
หน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ผู้สอนสร้างขึ้น จะเป็นหน่วยการเรียนที่มีมาตรฐาน
และอิงมาตรฐานการเรียนรู้ ๑๐ มีข้อสังเกต ดังนี้
๑. มาตรฐานการเรียนรู้หรือตัวชี้วัดในหน่วยมีความเชื่อมโยงกัน
๒. มาตรฐานการเรียนรู้หรือตัวชี้วัดกับชิ้นงานหรือภาระงานของผู้เรียนมีความสอดคล้องกัน
๓. มาตรฐานการเรียนรู้หรือตัวชี้วัดกับวิธีการประเมินและเกณฑ์การประเมินมีความสอดคล้องกัน
๔. มาตรฐานการเรียนรู้หรือตัวชี้วัดกับกิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน