Page 48 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 48
25
1) แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 – 6 คน ตามความเหมาะสมของเวลา และจำนวนผู้เรียน
2) จากนั้นให้แต่ละกลุ่มตั้งแถวตอนเรียงเดี่ยว โดยให้แต่ละคนยืนห่างกันประมาณ 1 เมตร หรือบาง
ห้องเรียนสะดวกนั่งเป็นแถวย่อมสามารถทำได้ตามสมควร
3) ให้สมาชิกคนแรก ที่เป็นหัวแถวของแต่ละกลุ่ม เข้ามาดูวิดิทัศน์ผ่านโนตบุค หรือเครื่องมือสื่อสาร
ิ
์
อย่างอื่น โดยสมมติว่าเหตุการณ์ในวิดิทัศน์คือเหตุการณที่เกดขึ้นในอดีตและหัวแถวของแต่ละกลุ่มคือคนที่พบ
เจอเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้ครูจึงต้องระวังไม่ให้สมาชิกในแถวคนอื่น ๆ เห็น หรือได้ยินเสียง
จากวิดิทัศน์
4) เมื่อหัวแถวของแต่ละกลุ่ม ดูวิดิทัศน์เสร็จแล้ว ให้กลับไปเล่าให้คนที่สองของแถวซึ่งสมมติว่าเป็นลูกได้
ฟังจากนั้นก็เล่าให้คนที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นลูกของลูกให้เล่าไปจนถึงคนสุดท้าย (ห้ามเล่าข้ามลำดับเด็ดขาด แต่
มักจะฝ่าฝืนอย่างสนุกสนาน) โดยมีเวลาเล่าเรื่อง 1– 2 นาที ต่อคนแต่ละรุ่น หรือตามความเหมาะสมของเวลา
ิ
5) คนสุดท้ายของแถวมีหน้าที่จดบันทึกเรื่องราวที่เกดขึ้น แล้วนำไปเล่าหน้าชั้นเรียน
6) เมื่อทุกกลุ่มเล่าเสร็จ ให้คนสุดท้ายของทุกกลุ่มร่วมกันเป็นเรื่องราวใหม่จากบันทึกที่ตนมี แล้วร่วมกัน
เล่าให้เพื่อนฟังอีกครั้ง
7) ครูเปิดวิดิทัศน์ในจอขนาดใหญ่ให้ผู้เรียนทุกคนได้ดู แล้วช่วยกันวิเคราะห์ว่าทำไมเรื่องเล่าของแต่ละ
กลุ่มจึงมีความเหมือนหรือแตกต่างกัน
เมื่อผู้สอนเล่าสรุปกิจกรรมนี้แต่เพียงเล็กน้อย ผู้เรียนจะสามารถเข้าใจผ่านการลงมือปฏิบัติอย่างรวดเร็ว
เช่น เรื่องราวที่เล่ากันแบบปากต่อปากนี้แหละที่เรียกว่าตำนาน แม้ตำนานอาจเกิดจากความจริง แต่ตำนาน
ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด
เรื่องอะไรที่คงอยู่ และเรื่องอะไรที่หายไปเกิดจากอะไร ตลอดจนเมื่อตำนานหลายเรื่องถูกบันทึกจึงอาจ
กลายเป็นหลักฐานที่เรียกว่าพงศาวดาร
ทั้งตำนาน และพงศาวดาร จึงไม่อาจเชื่อได้ทั้งหมด แต่ต้องถูกตรวจสอบเสมอเพียงกิจกรรมเดียวนี้ ครู
ู
ยังสามารถพัฒนาทักษะการพด ทักษะการฟัง ทักษะการจับใจความ ทักษะการน าเสนอข้อมูล ทักษะในการ
ี
เลือกใช้หลักฐาน ทักษะการวิเคราะห์ตลอดจนทักษะการใช้เหตุผล และทักษะการเปรียบเทียบ ได้อกด้วย
ึ้
ส่วนด้านจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์ ครูสามารถวัดการมีขนได้หากผู้เรียนสามารถสะท้อนได้ว่า จากนี้ไป
ทุกข้อมูลที่ได้รับพวกเขาต้องตั้งคำถาม และตรวจสอบด้วยตนเองกอนเสมอ
่
นอกจากนี้ครูอาจเพิ่มทักษะการสื่อสาร ผ่านโครงสร้างสอนการเล่าเรื่องแบบ ใคร –ทำอะไร – ที่ไหน –
เมื่อใด – อย่างไร
เพียงเท่านี้ ผู้สอนย่อมสามารถสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไม่ยากเย็น
อย่างไรก็ดี ผู้สอนไม่พึงต้องวิตกกังวลว่า ผู้เรียนจะจดจำเนื้อหาได้หรือไม่ เนื่องด้วยต้องเข้าใจว่าในชีวิต
้
หนึ่งย่อมมีเรื่องราวเข้ามามากมาย เนื้อหาจากการเรียนก็เป็นเรื่องราวอย่างหนึ่งที่เขามาในชีวิตของผู้เรียน
ผู้เรียนจะจดจำเนื้อหาใดได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าผู้เรียนประทบใจหรือไม่ หากเรื่องใด สามารถสอนใจ หรือเอาไป
ั
ใช้เป็นมุมมองของชีวิตได้ผู้เรียนย่อมจะไม่มีทางลืมเนื้อหานั้น ๆ เพียงผู้สอนทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด แล้ว
ร่มเย็นในใจอุเบกขา
๒.๓.๗ สอนประวัติศาสตร์อย่างไรให้เข้าถึงจิตสำนึก