Page 49 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 49
26
ดังที่ทราบกันแล้วว่า โดยปกติทั่วไปนั้น วิชาประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ ์
อย่างน้อย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้จากเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ 2) ด้านทักษะจากวิธีการทาง
ประวัติศาสตร์ และ 3) ด้านสำนึกจากประวัติศาสตร์
ถึงตรงนี้ ผู้ที่มีภูมิรู้ทางวิชาด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่บ้างคงตั้งข้อสงสัยว่าด้านที่ 3 ควรเป็นเจตคติ
(Attitude) มากกว่าด้านสำนึกจากประวัติศาสตร์หรือไม่
ผู้เขียนขออธิบายว่า การสอนให้ได้เจตคตินั้นเป็นสิ่งที่วิชาทั่วไปพึงปฏิบัติเช่น ครูคณิตศาสตร์ย่อมต้อง
สอนให้ผู้เรียนมีคิดเห็นว่าวิชานี้มีความหมาย มีความท้าทาย มีความสนุกสนาน เป็นต้น ต้องยอมรับว่าบทเรียน
จากวิชาประวัติศาสตร์ สามารถเข้าสู่จิตใจของผู้เรียนจนสามารถสร้างสำนึกได้ง่ายดายกว่าวิชาอื่น ๆ เช่น
ึ
ความตระหนักถึงพลังแห่งความสามัคคีจากการศกษาเรื่องการขุดลอกบึงพลาญชัยในสมัยของพระยาสุนทร
เทพกิจจารักษ์ หรือการก่อสร้างโรงอาหารจากการสมทบทุนของคณะผ้าป่าสามัคคี เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ ครูประวัติศาสตร์จึงควรมีหน้าที่ในการสร้างสำนึกที่ดีแก่ผู้เรียน และควรมุ่งเน้นที่การสอน
ทักษะทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตมากกว่าการมุ่งเน้น ท่องจำเหตุการณ์จาก
การท่องจำของครู ยกตัวอย่างเช่น หากครูในรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สอนเรื่องการตั้งเมืองร้อยเอ็ดอย่าง
จริงจังจนผู้เรียนท่องจำรายนามของเจ้าเมืองได้หมด จนเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาแล้ว ได้ไปทำงานที่จังหวัด
ระยอง คำถามสำคัญคือผู้เรียนจะเอาความรู้เรื่องเจ้าเมืองร้อยเอ็ดไปใช้อย่างไรในจังหวัดระยอง ถ้าไม่มีอะไร
เอาไปใช้ได้ แล้วเราจะเสียเวลาทั้งของผู้เรียนและผู้สอนไปเพื่อความรู้ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ไปเพื่ออะไร
ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ครูประวัติศาสตร์ต้องตระหนักอยู่เสมอคือไม่ได้สอนประวัติศาสตร์เพื่อสร้างนัก
ประวัติศาสตร์ที่มีหน้าที่จดจำเหตุการณ์ในอดีตอันมีขอบเขตกว้างใหญ่ไพศาล หากแต่ครูประวัติศาสตร์คือผู้ใช้
้
เนื้อหาจากอดีตเป็นสนามสำหรับสร้างทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการสืบเสาะ ทักษะการแยกขอเท็จจริง
ทักษะการตีความ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการเปรียบเทียบ ตลอดจนทักษะการสื่อสาร และทักษะอื่น ๆ
ที่จำเป็นในโลกปัจจุบัน
นอกจากนี้ ครูประวัติศาสตร์คือผู้ใช้เนื้อหาจากอดีตเป็นสนามในการบ่มเพาะปลูกฝังสำนึกให้เกิดแก่
ผู้เรียน เช่น สำนึกรักและภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย สำนึกถึงความสำคัญของเวลา สำนึกถึงความสำคัญ
ของการวางแผนในชีวิต สำนึกถึงความสำคัญของกาลเทศะ สำนึกถึงความเป็นธรรมดาของความเปลี่ยนแปลง
ของโลกรอบตัว เป็นต้น
ยกตัวอย่าง หากเปลี่ยนมุมมองในการสอนวิชาประวัติศาสตร์เมืองร้อยเอ็ด จากการท่องจำเนื้อหาการตั้ง
เมือง เป็นการสอนทักษะทางประวัติศาสตร์เป็นเบื้องต้น แล้วให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มสืบเสาะหาความรู้ จากนั้นใช้
การวิพากษ์วิจารณ์ตั้งคำถามในเรื่องราวที่ผู้เรียนเรียบเรียงมาบอกเล่า ซึ่งเท่ากบว่าผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้เอง
ั
อย่างไรก็ดี ครูประวัติศาสตร์ควรเข้าใจว่า ถึงแม้ที่ผู้เรียนสร้างเองนั้นเขาจะลืมได้ยาก แต่กไม่มีประโยชน์
็
อันใดที่มากไปกว่าข้อมูลที่ยังไม่ถูกลืม เพราะครูประวัติศาสตร์ต้องให้ผู้เรียนมากกว่าการจดจำเนื้อหา
สนามของเนื้อหาในเรื่องการตั้งเมืองร้อยเอ็ด คือเรื่องราวของผู้พ่ายแพ้ต้องหลบหนีมาสร้างเมืองแห่ง
ใหม่ จากนั้นจึงให้ผู้เรียนช่วยกันอธิบายปัจจัยและเหตุผลนานาที่ทำให้ร้อยเอ็ดกลายเป็นเมืองศูนย์กลางที่สำคัญ
จากประสบการณ์การสร้างเนื้อหา การใช้ทักษะการสืบเสาะ และการวิพากษ์วิจารณ์ ครูอาจชวนคิดชวน
คุยจนผู้เรียนตกผลึกเป็นสำนึกถึงความสำคัญของผู้บุกเบิก หรือสำนึกของนักสู้ที่ล้มแล้วลุกได้เสมอ ตลอดจน
สำนึกถึงพลังแห่งความสามัคคี ที่ล้วนเป็นสำนึกที่ดีงามสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต