Page 45 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 45
22
๕. มาตรฐานการเรียนรู้หรือตัวชี้วัดกับสื่อ แหล่งการเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน
๖. ชิ้นงานหรือภาระงานของผู้เรียนกับวิธีการประเมินและเกณฑ์การประเมินมีความสอดคล้องกัน
๗. ชิ้นงานหรือภาระงานของผู้เรียนกับกิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน
๘. ชิ้นงานหรือภาระงานของผู้เรียนกับสื่อ แหล่งการเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน
๙. กิจกรรมการเรียนรู้กับสื่อ แหล่งการเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน
๑๐. หน่วยการเรียนรู้สามารถนำไปจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้จริง
จากผลการพิจารณาหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ได้ขอค้นพบต่างๆ ตามที่คณะกรรมการ
้
พัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ให้ข้อเสนอแนะในการพิจารณาในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
๑) มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ไม่สอดคล้องกบวิธีสอน และเนื้อหาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ั
๒) เวลาเรียน ที่ใช้จัดกิจกรรมน้อยเกินไปสำหรับเนื้อหาที่ใช้สอน
๓) กิจกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่ยังยึดการอ่านเอกสาร เช่น ใบความรู้ หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ครู
ทำให้แล้วตอบคำถาม ซึ่งเน้นความรู้ ความจำ ความเข้าใจในเนื้อหา ควรมีขั้นตอนการสอนที่ใช้วิธีการทาง
ประวัติศาสตร์ และมีรายละเอียดของแต่ละขั้นตอน
๔) เอกสารที่ครูทำขาดการอ้างอิง ถ้ามีการอ้างอิงจะใช้เว็บไซต์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลที่
คลาดเคลื่อนและยังไม่มการใช้เอกสารชั้นต้น (ทั้งที่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา)
ี
๕) ข้อมูลที่ครูใช้สอน ใช้ตั้งคำถาม ในเอกสารประกอบการสอน พบข้อมูลที่ล้าสมัยมีขอมูลที่ผิดพลาด
้
และครูจะใช้ข้อมูลที่คว้าได้ทั้งหมด โดยไม่มีการตรวจสอบความถูกต้อง
๖) ครูยังเน้นหน่วยการเรียนรู้ที่มีแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน ซึ่งเน้นความรู้ความจำข้อมูล ทำให้ขาด
การเน้นทักษะกระบวนการ เช่น การคิดวิเคราะห์ การสรุป การตีความ และที่สำคัญไม่สามารถสร้างเจตคติ
ค่านิยม
๗) ครูยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโครงงาน เช่น ให้นักเรียนไปทัศนศกษา และแบ่งกลุ่มค้นคว้าก็
ึ
เรียกว่าโครงงาน การสำรวจภูมิปัญญาในท้องถิ่นแล้วกลับมาทำรายงาน ก็เรียกว่าโครงงานสำรวจท้องถิ่น
อย่างไรก็ตามในช่วงระยะเวลาที่ผ่าน เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่เริ่มมีการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ื่
์
พุทธศักราช ๒๕๕๑ ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ต่างทบทวนประสบการณการออกแบบการเรียนรู้เดิมเพอปรับ
รูปแบบ และวิธีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ทั้งนี้หลักการออกแบบการเรียนรู้ยังคงเดิม จะต่างตรง
่
รายละเอียดบางส่วนเท่านั้น หากในแงของคุณภาพการออกแบบการเรียนรู้ก็ยังอยู่ในเส้นทางพัฒนากันอย่าง
ต่อเนื่อง ซึ่งครูผู้สอนจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับมโนทัศน์สำคัญ (Key Concept) ที่อยู่ในตัวชี้วัดและสาระการ
เรียนรู้ รวมทั้งกระบวนการจัดการเรียนรู้สำคัญของสาระประวัติศาสตร์
๒.๓ แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์อย่างไร ไม่ให้น่า
เบื่อ : การสอนประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งเป็นเอกสารประกอบการบรรยาย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญ รสจันทร์ (๒๕๖๖) มีรายละเอียดดังนี้
๒.๓.๑ การสอนประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก