Page 46 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 46
23
การสอนประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เป็นกระบวนการ
เรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำปรึกษา ดูแล
แนะนำทำหน้าที่เป็นโค้ชและพี่เลี้ยง (Coach & Mentor) แสวงหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ และแหล่ง
เรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful learning) ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้
ึ
มีความข้าใจในตนเองใช้สติปัญญา คิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่บ่งบอกถงการมีสมรรถนะสำคัญ
ในศตวรรษที่ 21 มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพ บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัย
๒.๓.๒ ความหมายของการสอนประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การสอน
ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก คือ การเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน
กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (HigherOrder Thinking) ด้วยการวิเคราะห์สังเคราะห์และ
ประเมินค่า ไม่เพียงแต่เป็นผู้ฟง ผู้เรียนต้องอ่าน เขียน ตั้งคำถาม และอภิปรายร่วมกันผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง
ั
โดยต้องคำนึงถึงความรู้เดิมและความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจาก
ผู้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้
๒.๓.๓ ความสำคัญของการสอนประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
1. ส่งเสริมอิสระทางด้านความคิดและความคิดสร้างสรรค์
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง
3. เปิดประสบการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ก ากับทิศทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. สร้างเสริมทักษะทางสังคมเกิดความร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ
5. สร้างแรงจูงใจในการเรียน และท าให้ผู้เรียนแสดงออกถงความรู้ความสามารถ
ึ
๒.๓.๔ ลักษณะการสอนประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
1. เป็นการพัฒนาศักยภาพการคิด การแก้ปัญหา และการน าความรู้ไปประยุกต์ใช้
2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในรูปแบบ
ของความร่วมมอมากกว่าการแข่งขัน
ื
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
4. เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ สู่ทักษะการคิดวิเคราะห์และประเมิน
ค่า
5. ผู้เรียนได้เรียนรู้ความมีวินัยในการท างานร่วมกับผู้อื่น
6. ความรู้เกิดจากประสบการณ์และการสรุปของผู้เรียน
ื่
7. ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้เพอให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
๒.๓.๕ รูปแบบวิธีการสอนประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ในลักษณะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) มีวิธีการจัดการเรียนรู้หลากหลายวิธี เช่น
1. การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning)
2. การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)
3. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)