Page 52 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 52
29
๓.๑ แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. ๒๕๖๖ ภายใต้โครงการสร้างและ
ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามรอยพระยุคลบาทด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด รายละเอียดดังเอกสารหมายเลข ๑
๓.๒ มาตรฐานและตัวชี้วัด สาระประวัติศาสตร์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐ รายละเอียดดังเอกสารหมายเลข ๒
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
๔.๑ การพิจารณาขอบข่ายเนื้อหาสาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด ที่เหมาะสม
กับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – มัธยมศึกษาปีที่ ๖ รายละเอียดดัง
เอกสารหมายเลข ๒
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ
..........................................................................................................................................................................
๓.๓ จัดทำสารสนเทศเนื้อหาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำไปจัดทำ
ื
หน่วยการเรียนรู้ โดยร่วมมอกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด ศึกษาเอกสาร เนื้อหาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ตามที่คณะทำงาน
ยกร่างกรอบเนื้อหาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกำหนด ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๘ เมษายน ๒๕๖๖ ณ พิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติร้อยเอ็ด
๓.๔ จัดทำหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต้นแบบ และนำเสนอต่อ กศจ.
๓.๔.๑ รวบรวมข้อมูลและศึกษาการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบ “กู่กาสิงห์” โดยติดต่อ
ประสานงาน สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ร่วมกับนายอำคา แสงงาม
ข้าราชการบำนาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ
บ้านกู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด
๓.๔.๒ ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ดในระยะต่อไป เป็น
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบ หลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด ใน
็
วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมเสมาสามัคคี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอด โดยผู้ข้าประชุม
ประกอบด้วยครูผู้สอนสาระประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๑ , ๒ , ๓ และสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด หน่วยงานละ ๔ คน จากเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน ๑ คน จาก
โรงเรียนเอกชนในระบบในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน ๑ คน และจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน
๗ คน รวมทั้งสิ้น ๓๐ คน
๓.๕. ทดลองใช้หน่วยการเรียนรู้ต้นแบบประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด
๓.๕.๑ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด นำหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบประวัติศาสตร์
ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ไปทดลองใช้จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วันที่ ๒๗
กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ โรงเรียนบ้านดงครั่งน้อย ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็น
การเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งถิ่น
ฐานมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานชัดเจนในบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด