Page 54 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 54

31





                                                        ส่วนที่ ๔

                                                    ผลการดำเนินงาน


                       จากขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด ขอเสนอผลการดำเนินงาน

               พัฒนาหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด ดังนี้
                       ๔.๑ ผลการประสานเครือข่ายพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัด

               ร้อยเอ็ด เพื่อแต่งตั้งคณะทำงานยกร่างกรอบเนื้อหาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
                       สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด มีเครือข่ายในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบประวัติศาสตร์

               ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด ดังนี้
                       ๔.๑.๑ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดร้อยเอ็ด

                                                                                   ิ
                              สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับความอนุเคราะห์จากพพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
               จังหวัดร้อยเอ็ด ให้สามารถสืบค้น และเข้าถึงข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ดจากศูนย์ข้อมูล
               สารสนเทศของพิพิธภัณฑ์ รวมถึงใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการจัดกระทำกับเอกสาร หลักฐานทางประวัติศาตร์ใน

               พิพิธภัณฑ์ เพื่อจัดทำสารสนเทศประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด
                       ๔.๑.๒ ดร.สุวัฒนพงษ์  ร่มศรี รองศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม  ประธานชมรมครูสังคมศึกษา

               จังหวัดร้อยเอ็ด
                              สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับความอนุเคราะห์จาก ดร.สุวัฒนพงษ์  ร่มศรี ใน

               การรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ ในจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งได้รวบรวมเป็น
                                                     ็
               สารสนเทศประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอด
                       ๔.๑.๓ ผศ.ดร. ปริญ รสจันทร์ ประธานสาขาสังคมศึกษา คณะคุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
               ร้อยเอ็ด
                              สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับความอนุเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนรู้

               ประวัติศาสตร์ และมีส่วนร่วมในการเสวนาวิชาการด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งได้รับเกียรติ
               จากอาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในการบรรยายประวัติศาสตร์

               ร้อยเอ็ดและความเชื่อมโยงกับความเป็นไทยในอุษาคเนย์ รวมทั้งมีส่วนร่วมการลงพื้นที่สำรวจและสัมภาษณ ์
                                                ี่
               ปราชญ์ชุมชน และโบราณสถานในพื้นททุ่งกุลาร้องไห้ อันเป็นการพัฒนาบุคลากรด้านการทำงานพัฒนาหน่วย
               การเรียนรู้ประวัติศาสตร์อย่างดียิ่ง
                       ๔.๑.๔ ดร.อำคา  แสงงาม ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลกู่กาสิงห์ โดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

               ร้อยเอ็ด ได้รับความอนุเคราะห์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
               กรณีศกษาการพัฒนาหลักสูตรมัคคุเทศก์น้อยนำเที่ยวกู่กาสิงห์
                     ึ
                                                                                             ึ
                       ๔.๑.๕ คณะครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศกษาประถมศกษาร้อยเอ็ด
                                                                                  ึ
               เขต ๑ , ๒ , ๓ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด และเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59