Page 38 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 38

15


                       การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑

               ทั้งการประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการประเมินผล
               การเรียนรู้ ที่ เกิดจากการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้ เรียนนั้นมีความเหมาะสมกับวิธีการและเครื่องมือวัดและ
               ประเมินผลแบบไม่เป็นทางการ ข้อมูลที่ได้ก็จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล

               ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนได้อย่างลึกซึ้งกว่า ทั้งยืดหยุ่นตามสถานการณ์ต่างๆ
                       ในเอกสาร “แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

               พุทธศักราช ๒๕๕๑” ได้เสนอแนะการประเมินแบบต่างๆ ไว้ ดังนี้
                       ๑. การสังเกตพฤติกรรม เป็นการเก็บข้อมูลจากการดูการปฏิบัติของผู้เรียน โดยไมขัดจังหวะการ
                                                                                         ่
               ทำงานหรือการคิดของผู้เรียน การสังเกตพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ทำได้ตลอดเวลาแต่ควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่า
                                                                    ื่
               ต้องการประเมินอะไร ควรสังเกตหลายครั้ง หลายสถานการณ์เพอป้องกันความลำเอียง ทั้งนี้อาจมีเครื่องร่วม
               ด้วย เช่น สมุดจดบันทึก แบบมาตรประมาณคาแบบตรวจสอบรายการ
                                                     ่
                       ๒. การสอบปากเปล่า เป็นการให้ผู้เรียนได้แสดงออกด้วยการพูด ตอบประเด็นเกี่ยวกับการเรียนรู้ตาม
               มาตรฐาน รูปแบบนี้ผู้เรียนและผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง สามารถมีการอภิปราย โต้แย้ง ขยายความ และ

               ปรับแก้ไขความคิดเห็นกันได้
                       ๓. การพูดคุย เป็นการสื่อสารสองทางระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน สามารถดำเนินการเป็นกลุ่มหรือ

               รายบุคคลก็ได้ ใช้ในการตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพียงใด เป็นข้อมูลสำหรับพัฒนา
                       ๔. การใช้คำถาม การใช้คำถามเป็นเรื่องปกติมากในการจัดการเรียนรู้ แต่ควรเป็นคำถามที่ท้าทายให้
               ผู้เรียนทำความเข้าใจและเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น

                       ๕. การเขียนสะท้อนการเรียนรู้ (Journals) เป็นรูปแบบการบันทึกการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเขียนทบทวนสิ่ง
               ที่ตนเองรับรู้จากการเรียน แล้วสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองในลักษณะ “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...” อาจ

               เขียนในมิติของความรู้ กระบวนการ และเจตคติที่ได้จากการเรียนนอกจากนี้ยังสามารถให้ผู้เขียนเขียนตอบ
               กระทู้หรือข้อคำถามของครูที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดหรือเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ได้

                       ๖. การประเมินการปฏิบัติ เป็นวิธีการประเมินงานหรือกิจกรรมที่ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน
               ให้ทราบถึงผลการพัฒนาของผู้เรียน การประเมินลักษณะนี้ ผู้สอนต้องเตรียมสิ่งสำคัญ ๒ ประการ คือ ภาระ

               งาน (tasks) หรือกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนปฏิบัติ เช่น การทำโครงการ/โครงงาน การสำรวจ การนำเสนอ การ
               สร้างแบบจำลอง การท่องปากเปล่า การสาธิต การจัดนิทรรศการ การแสดงละคร เป็นต้น และเกณฑ์การให้
               คะแนน (Scoring Rubrics)

                       ๗. การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน (Portfolio Assessment) เป็นการเก็บรวบรวมชิ้นงานของผู้เรียน
               เพื่อสะท้อนความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้เรียน เช่น แฟ้มสะสมผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของผู้เรียน

                                                                             ้
               ต้องมีผลงานในช่วงเวลาต่างๆ ที่แสดงความก้าวหน้าของผู้เรียน หากเป็นแฟมสะสมงานดีเด่นต้องแสดงผลงาน
               ที่สะทอนความสามารถของผู้เรียนโดยผู้เรียนต้องแสดงความคิดเห็นหรือเหตุผลที่เลือกผลงานนั้น เก็บไว้ตาม
                    ้
                                ้
               วัตถุประสงค์ของแฟมสะสมผลงาน แนวทางในการจัดทำแฟ้มผลงาน มีดังนี้
                       ● กำหนดวัตถุประสงค์ของแฟ้มสะสมผลงานว่าสะท้อนความก้าวหน้าหรือความสำเร็จของผู้เรียนใน

               เรื่องใด ด้านใด ทั้งนี้อาจพิจารณาจากตัวชี้วัด/มาตรฐานการเรียนรู้
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43