Page 37 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 37

14


               มีขั้นตอนในการสร้าง ๓ ขั้นตอน คือ กำหนดเป้าหมาย กำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย และ

                                        ์
               ออกแบบการจัดประสบการณการเรียนรู้ ซึ่งมีรายละเอียดในการดำเนินการ ดังนี้
                       ขั้นที่ ๑ กำหนดเป้าหมาย ในการกำหนดเป้าหมาย ผู้สอนจะต้องพิจารณาว่าผู้เรียนควรรู้อะไร ควรมี
               ความเข้าใจในเรื่องใด และควรทำอะไรได้บ้าง อะไรที่ควรค่าแก่การเรียนรู้และควรมีความเข้าใจที่ยั่งยืน

               เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ หมายถึง
               มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ซึ่งครูประวัติศาสตร์พึงทำความเข้าใจโดยสามารถศึกษาการวิเคราะห์ตัวชี้วัด

               รายตัวได้จากภาคผนวก นอกจากนี้การพิจารณาหลอมรวมตัวชี้วัดต่าง ๆ เข้าด้วยกันให้ เป็นความคิดรวบยอด
               ซึ่งก็เป็นเป้าหมายการเรียน รู้ที่เป็นความสามารถที่ผู้เรียนต้องรู้และปฏิบัติได้ อันเป็นภาพปลายทางที่เรา

               ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
                       เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์คงไม่หยุดอยู่เพียงการให้นักเรียนจดจำข้อมูลจำนวน

               มาก และเล่าย้อนให้มากที่สุด แต่ระดับที่ลุ่มลึกกว่า คือ การเข้าใจ การอธิบายการตีความ และสามารถนำ
               ความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในการสถานการณ์ต่างๆ ได้
                       มีครั้งหนึ่ง ครูถามว่า “นักเรียนควรจำเหตุผลให้ได้ว่า “โบสถ์” “วิหาร” และสถานที่สำคัญทางศาสนา

                               ิ
               มักหันหน้าไปทางทศตะวันออก เนื่องจากเป็นทิศมงคลนั้น ถูกต้องหรือไม่”แสดงให้เห็นว่าเราไมควรมีเป้าหมาย
                                                                                             ่
               เพียงแค่ “ให้จำข้อมูล” แต่ควรไปให้ยิ่งกว่า โดยอาจพิจารณาโบสถ์ วิหารในสถานที่อื่นๆ เช่น ซากโบสถ์วัด
               กานโถง ที่เวียงกุมกาม กลับหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ปราสาทหินพิมายหันหน้าไปทิศใต้ และบางที่ก็พบว่า
               ไม่ได้สนใจเรื่องทิศทางแต่ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศเป็นตัวกำหนดว่าจะหันไปทางทิศใด ประเด็นเหล่านี้ ก็นำไปสู่ว่า
               เป้าหมายการเรียนรู้ที่ลุ่มลึกกว้างขวางกว่าทั้งมิติของการคิดเชิงวิพากษ์และเชื่อมโยง

                       ขั้นที่ ๒ กำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย วิธีการ Backward Design กำหนดให้
               ผู้สอนวางแผนการจัดการเรียนรู้โดยคิดถึงหลักฐานที่จะบ่งชี้ว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้

               ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลาย เมื่อผู้สอนมีความชัดเจนในเป้าหมายคุณภาพของ ผู้ เรียนที่ ต้องการให้เกด
                                                                                                      ิ
               ขึ้นอย่างชัดเจนแล้ว คำถามต่อไปคือ จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการจัดการเรียนรู้แล้วซึ่งถือเป็น

               ขั้นตอนในการวางแผนเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลเพอตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนว่า
                                                             ื่
                       ๑) ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้หรือไม่ อย่างไร

                       ๒) ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายการจัดการเรียนรู้หรือไม่
                                                    ุ
               อย่างไร
                       ๓) มีผลงานหรือชิ้นงานอะไรที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความสามารถตามเป้าหมายการจัดการเรียนรู้

               และผู้ เรียนต้องแสดงออกอย่างไรที่แสดงว่าความเกดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอนพึงประสงค์
                                                                                       ั
                                                          ิ
                       ๔) ความรู้ ความสามารถหรือพฤติกรรมของผู้เรียนที่ปรากฏนั้นเพียงพอหรือไม่ในขั้นนี้ ครูผู้สอนควรมี
               วิธีการ และเครื่องมือวัดและประเมินการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเป้าหมายการเรียนรู้
               นั้นๆ โดยทั่วไป การประเมินผลการจัดการเรียนรู้มีเป้าหมาย ๓ ประการ คือ เพอรู้จักผู้เรียน เพื่อประเมินวิธี
                                                                                ื่
               เรียนของผู้เรียน และเพอประเมินพัฒนาการของผู้เรียน ผู้สอนสามารถเลือกใช้หรือคิดค้นวิธีการวัดและ
                                   ื่
               ประเมินผลให้เหมะสมกับจุดมุ่งหมายของการนำผลการประเมินไปใช้เพื่อตอบสนองความต้องการ ๓ ประการ

               ดังกล่าวข้างต้น
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42