Page 64 - Advande_Management_Ebook
P. 64

62                                         เอกสารประกอบการสอน : การจัดการขั้นสูง



                  กลยุทธ์คือความแน่นอนชัดเจนที่มากหมายอันใหม่ และการจัดการเชิง
           กลยุทธ์ (Strategic Management) เป็นประบวนการในการก�าหนดและการใช้งาน

           กลยุทธ์ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Analysis) เป็นกระ
           บวนการในการวิเคราะห์องค์กรสภาพแวดล้อมและฐานะการแข่งขันขององค์กรและ
           กลยุทธ์ในปัจจุบัน 2) การก�าหนดยุทธศาสตร์ (Strategic formulation)  เป็นขั้นตอน

           การจัดท�ากลยุทธ์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดสรรทรัพยากร 3) การใช้กลุทธ์ (Strate-
           gic Implementation) เป็นกระบวนการของการวางกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ ผู้จัดการ

           หรือผู้น�าที่รับผิดชอบกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นในองค์กรจากเจ้าของกิจการหรือผู้บังคับบัญชา
           ที่ได้มอบหมายให้ในการท�าหน้าที่การงานหรือปฏิบัติงานให้เป็นไปตามรูปแบบของ
           การวางแผนเชิงกลยุทธ์แล้วนั้น จ�าเป็นที่จะต้องติดตามตัวชี้วัดตามแผลกลยุทธ์

           ดังกล่าวตลอดเวลา เพื่อด�าเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ก�าหนดตลอดตัวชี้วัด
           ที่ต้องการวัดจากการสร้างขึ้นขององค์กร องค์กรที่มีการน�าการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อ

           มุ่งสัมฤทธิ์ผลนั้นจะต้องมีความตื่นตัวตลอดเวลาที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในแต่ละช่วง
           เวลาให้ทันท่วงที และคล่องตัวต่อการปรับเปลี่ยนและให้เกิดผลตัวชี้วัดจากการที่ผู้น�า
           หรือผู้จัดการนั้น ได้สร้างกระบวนการตามกรอบแนวคิด และติดตามการท�างานหรือ

           ปฏิบัติงานของพนักงานลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยการสื่อสารภายในองค์กร
           อย่างชัดเจนอีกด้วย และเป็นคนประเภท “ทันคน ทันโลก และทันเหตุการณ์” สามา

           รถปรับตคัวเอง ปรับองค์กร หรือถ้าเป็นนักการเมืองก็คือปรับประเทศให้ทันกับสภาวะ
           โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะรุนแรงและรวดเร็วแค่ไหนก็ตาม คนประเภทนี้จึง
           เหมาะกับโลกยุคปัจจุบันที่เป็น “ยุคโลกาภิวัตน์หรือโลกแบน” โดยสรุป อาจกล่าวได้

           ว่า คนที่มี “ระบบความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)” นั้น จะมีองค์ประกอบ
           ของความคิดที่ผสมผสานในตัวเองดังนี้คือ มีลักษณะเป็น 1) นักคิดที่ปลอดจากกับดัก

           (Trap-free Thinking) 2) นักคิดแบบมีชีวิต (Organic Thinking) 3) นักคิดสีเทา
           (Grey Thinking) 4) นักคิดอย่างมีการถ่วงน�้าหนัก (Weighing Thinking) 5) นักคิด
           ที่มองอนาคต (Proactive Thinking) 6) นักคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic

           Thinking) 7) นักคิดอย่างมีตรรกะ (Logical Thinking) 8) นักคิดอย่างเป็นองค์รวม
           (Holistic Thinking) และ 10) นักคิดที่มีวิสัยทัศน์ (Visionary Thinking) (สมชาย

           ภคภาสน์วิวัฒน์. 2560: 102)
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69