Page 60 - Advande_Management_Ebook
P. 60
58 เอกสารประกอบการสอน : การจัดการขั้นสูง
Withdrawal) คือ การปฏิเสธความเป็นจริงของความขัดแย้งและซ่อนความรู้สึกที่แท้
จริง 5) การแข่งขันหรือค�าสั่งที่มีอ�านาจ (Competition & Authoritative) คือ การ
บังคับให้มีการแก้ปัญหาเพื่อก�าหนดวิถีชีวิตของผู้อื่น
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
กลยุทธ์ (Strategy)
กลยุทธ์คือความแน่นอนชัดเจนที่มากหมายอันใหม่ ท�าไมถึงต้องมีกลยุทธ์ ?
มีปรากฏการณ์ 5 ประการ ที่สามารถถือว่าเป็นความไม่แน่นอนได้ อย่างไรก็ตาม
กลยุทธ์เหล่านี้แตกต่างจากกลยุทธ์ปัจจุบันที่พิจารณา เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งเหล่านั้นไม่ได้
เป็นหลักเศรษฐกิจ แต่เป็นหลักทางสังคมและการเมือง 5 ความเชื่อมั่นเหล่านี้ คือ
1) อัตราการเกิดที่ลดน้อยลงในโลกที่พัฒนาแล้ว 2) การเปลี่ยนแปลงการกระจายตัว
ของรายได้ที่ใช้แล้วทิ้ง 3) ประสิทธิภาพที่ถูกนิยม 4) การแข่งขันระดับโลก 5) ความ
ไม่สอดคล้องกันระหว่างโลภาวิวัตน์ที่ก�าลังเติบโต (Peter F.Drucker. 2000:43-55)
การจัดการเชิงกลยุทธ์จึงก�าหนดขึ้นเพื่อเข้ามาจัดการอย่างมีระบบให้เกิดประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลดังที่องค์กรต่าง ๆ ต้องการและปรารถนา ระบบความคิดในเชิงกล
ยุทธ์ (Strategic Thinking) เป็นเสมือนกลไกในการพัฒนาขีดความสามารถหรือ
ศักยภาพแห่งการแข่งขันของบุคคล คนที่มีระบบคิดที่ลุ่มลึกและทันเกม อันเป็น
ลักษณะส�าคัญของนักคิดในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinker) ย่อมมีความได้เปรียบ
ในเชิงการแข่งขัน (Competitive Edge) มีการพูดถึงความคิดในเชิงกลยุทธ์
(Strategic Thinking) บ่อยมาก แต่ยังเห็นได้ว่ามีน้อยคนนักที่สามารถให้ค�าจ�ากัด
ความหรือนิยามของ “ความคิดในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)” ความจริงนั้น
คนที่มีลักษณะเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinker) ถ้าจะให้มีการเปรียบเปรย
ก็คือ การมีคุณสมบัติความเป็นนักปราชญ์จีนที่ชื่อซุนวู ที่กล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อย
ครั้ง ชนะร้อยครั้ง” นักคิดในเชิงกลยุทธ์จึงเปรียบเสมือนผู้ที่ทันต่อเกมการแข่งขัน และ
มักจะอยู่หน้าคู่แข่งหลายสิบหลายร้อยก้าวเสมอ (Ahead of your competitive)
(สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. 2560: 6)