Page 100 - แผนการสอน 63-2
P. 100
74
4. ให้นักเรียนอ่านและตอบค าถามเกี่ยวกับปริมาณไอน้ าในอากาศ ความชื้นสัมบูรณ์ ปริมาณไอน้ า
อิ่มตัวและความชื้นสัมพัทธ์จากหนังสือเรียน จากนั้นครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับความหมายและ
ความสัมพันธ์ของปริมาณไอน้ าในอากาศ ความชื้นสัมบูรณ์ ปริมาณไอน้ าอิ่มตัว และความชื้นสัมพัทธ์ เพื่อให้
ได้ข้อสรุปว่า ไอน้ าในอากาศท าให้อากาศมีความชื้น ค่าความชื้นสัมบูรณ์แสดงปริมาณไอน้ าที่มีอยู่จริงในอากาศ
โดยมีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ณ อุณหภูมิใดอุณหภูมิหนึ่ง อากาศสามารถรับไอน้ าได้ในปริมาณจ ากัด
โดยปริมาณไอน้ าอิ่มตัวหรือปริมาณไอน้ าสูงสุดที่อากาศรับได้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอากาศ ค่าความชื้นสัมพัทธ์
แสดงความสามารถของอากาศในการรับปริมาณไอน้ า ณ ขณะนั้นว่าอากาศมีปริมาณไอน้ าในอากาศเท่าไร
เทียบกับความสามารถที่จะรับได้ทั้งหมด และจะสามารถรับได้อีกเท่าไรโดยแสดงค่าเป็นเปอร์เซ็นต์
5. น าเข้าสู่กิจกรรมที่ 6.5 ปัจจัยที่มีผลต่อความชื้นสัมพัทธ์มีอะไรบ้าง อธิบายถึงความส าคัญของ
ความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งแสดงถึง ความสามารถในการรับไอน้ าในอากาศจึง ท าให้นักวิทยาศาสตร์น าค่า ความชื้น
สัมพัทธ์ไปใช้ประโยชน์ในการแปลความหมายและท านายลมฟ้าอากาศได้ ซึ่งการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความชื้น
สัมพัทธ์จะท าให้นักเรียนเข้าใจกระบวนการที่เกี่ยวกับลมฟ้าอากาศมากขึ้น
ขั้นที่ 2 ส ารวจและค้นหา
ั
1. ให้นักเรียนอ่านวิธีด าเนินกิจกรรมในหนงสือเรียน และร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังต่อไปนี้
- กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ปัจจัยที่มีผลต่อความชื้นสัมพัทธ์)
- กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อย่างไร
- วัสดุและอุปกรณ์พิเศษที่ใช้ในกิจกรรมมีอะไรบ้างและใช้งานอย่างไร
- วิธีด าเนินกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (ศึกษาการใช้ไซครอมิเตอร์ วางแผนการท างาน
ตรวจวัดและบันทึกความชื้นสัมพัทธ์โดยใช้ไซครอมิเตอร์ ตามสถานที่และเวลาที่ได้ออกแบบไว้ รวมทั้ง
บันทึกลักษณะทางกายภาพในพื้นที่ที่เลือก จากนั้นน าข้อมูลมาสร้างกราฟ)
่
- ข้อควรระวังในการท ากิจกรรมมีหรือไม่อยางไร
2. ให้นักเรียนศึกษาและอภิปรายวิธีการใช้ไซครอมิเตอร ์ จากหนังสือเรียน โดยนักเรียนตอบค าถามใน
เกร็ดน่ารู้เพื่อ ประเมินความเข้าใจการใช้ไซครอมิเตอร์
3. ให้นักเรียนร่วมกันวางแผนเพื่อเลือกสถานที่และเวลาที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิอากาศ และความชื้น
สัมพัทธ์ รวมทั้งออกแบบวิธีการบันทึกผลที่สังเกตได ้
4. ให้นักเรียนท ากิจกรรมตามแผนที่วางไว้ ครูสังเกตการตรวจวัดความชื้นสัมพัทธ์ของนักเรียนเพื่อให้
ค าแนะน าและน าข้อมูลจากการสังเกตมาใช้ประกอบการอภิปรายหลังกิจกรรม
5. ให้นักเรียนเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่นักเรียนเลือกศึกษา น าข้อมูลที่ได้จากการ
ตรวจวัดมาสร้างกราฟเส้นที่แสดงการเปลี่ยนแปลงความชื้นสัมพัทธ์ในเวลาต่าง ๆ และเตรียมน าเสนอผลการ
ท ากิจกรรม โดยครูแนะน าวิธีการสร้างกราฟให้แก่นักเรียน
6. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มน าเสนอผลการท ากิจกรรม และน าผลงานติดแสดงหน้าห้องเรียนเพื่อ
เปรียบเทียบข้อมูลของแต่ละกลุ่ม