Page 167 - 2557 เล่ม 1
P. 167
๑๖๗
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๐ จึงไม่รับฎีกา
โจทก์ทั้งสองเห็นว่า ศาลชั้นต้นมีคําสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ส่ง
ฎีกาของโจทก์ทั้งสองให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น ๒ คน
และศาลอุทธรณ์ภาค ๑ อีก ๓ คน พิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรที่จะรับฎีกาของ
โจทก์ทั้งสองหรือไม่เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๒๑ และมาตรา ๒๒๓ ทั้งคดีนี้มีการกระทําความผิดที่ชัดเจนและฝ่าฝืน
ต่อกฎหมาย ไม่ทําตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑ เป็นปงญหาสําคัญอันควรสู่
ศาลฎีกาให้อนุญาตรับฎีกาของโจทก์ทั้งสอง ขอให้ยกคําสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา
เป็นรับฎีกาของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณา
หมายเหตุ จําเลยทั้งสามไม่ได้รับสําเนาคําร้อง
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๘๓, ๘๔, ๑๕๗
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิพากษายืน
โจทก์ทั้งสองฎีกา ศาลชั้นต้นมีคําสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว
โจทก์ทั้งสองยื่นคําร้องนี้
ค าสั่ง พิเคราะห์แล้ว คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ทั้งสองต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๒๐ แม้โจทก์ทั้งสองอ้างว่าฎีกาของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องการกระทํา
ความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ชัดเจนก็ตาม หากโจทก์ทั้งสองประสงค์จะใช้สิทธิ
ฎีกา โจทก์ทั้งสองต้องได้รับอนุญาตให้ฎีกาโดยผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือ
ลงชื่อในคําพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิเคราะห์เห็นว่า
ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปงญหาสําคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๑ แต่ขั้นตอนในการที่จะ
ขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกาดังกล่าว มิได้มีบัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะ