Page 41 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 41
34
(2) นายจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด หาก
ประสงค์จะเลิกจ้างลูกจ้างของตนทั้งสถานประกอบกิจการหรือเป็น
บางส่วน จะกระทำได้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์อย่างไรหรือไม่ อาจผิด
ี
กฎหมายใดบ้าง มโทษทางอาญาหรือไม่ และต้องจ่ายเงินหรือค่าเสียหาย
ให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ มากน้อยเพียงใด กรุณาแนะนำถึงวิธีดำเนินการเลิกจ้าง
่
ลูกจ้างที่นายจ้างไม่ต้องรับผิดทั้งทางอาญาและทางแพง (ไม่ต้องจายเงิน)
่
ให้ด้วย
(ข้อถามนี้มีลักษณะต่างกับข้อ 1 อาจเป็นคำถามของนายจ้างรายที่
ประสบปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนักและต้องรีบเลิกจ้างลูกจ้างก็ได้ คำตอบและ
ความเห็นข้อนี้จึงอาจกระด้างไปบ้าง)
ความเห็น : ด้วยกฎหมายและคุณธรรม นายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างจัก
ต้องพิจารณาโดยตระหนักว่านายจ้างมีความจำเป็นเพียงพอหรือไม่ และมี
วิธีการอื่นที่ไม่จำต้องเลิกจ้างหรือไม่ ด้วยว่าการเลิกจ้างมักทำให้ลูกจ้างเดือดร้อน
ขาดเงินไปใช้จ่าย หากนายจ้างจำต้องเลิกจ้างลูกจ้างคนใด ก็ต้องหารือบท กล่าวคือ
ต้องรวบรวมตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับการเลิกจ้างทั้งหมดมาศึกษาแยกแยะ จักได้
สามารถตัดสินใจและปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
กฎหมายแรงงานที่บัญญัติถึงการเลิกจ้าง มีดังนี้
1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 นายจ้างจะเลิก
สัญญา (เลิกจ้าง) กับลูกจ้างได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนจะถึง
กำหนดจ่ายสินจ้างคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้าง
คราวถัดไป, มาตรา 583 กำหนดพฤติกรรมของลูกจ้างที่นายจ้างจะไล่ออก (เลิกจ้าง)
โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 582