Page 45 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 45
38
(เป็นคำถามร่วมสมัยในขณะที่โรคมหาภัยโควิดกำลังระบาด มีผลทำให้
ลูกจ้างจำนวนมากต้องหยุดทำงานหลายวัน บางคนไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างเป็นเดือน ๆ)
ความเห็น : เหตุที่ลูกจ้างไปทำงานไม่ได้หรือไม่ได้ทำงานให้แก่
นายจ้างต้องหยุดงานนั้น มีทั้งที่มาจากเหตุการณ์ทางฝ่ายลูกจ้างและเหตการณ์ทาง
ุ
ฝ่ายนายจ้าง
ื้
้
เหตุการณ์ทางฝ่ายลูกจ้าง ได้แก่ กรณีที่ลูกจางต้องไปตรวจการติดเชอ
ต้องไปฉีดวัคซีน ต้องถูกกักตัวที่สถานกักตัวของรัฐ (State Quarantine) สถานกักตัว
ของรัฐทางเลือก (Alternative State Quarantine) หรือสถานกักตัวส่วนบุคคลอื่น
หรือต้องแยกอยู่โดดเดี่ยว หรือกักกันตัวเองที่บ้าน (Home Isolation) หรือต้อง
ปฏิบัติตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ที่ห้ามออกนอกเคหสถานฯ เป็นต้น
เหตุการณ์ทางฝ่ายนายจ้าง ได้แก่ กรณีที่นายจ้างไม่ประสงค์จะให้
ลูกจ้างมาทำงานรวมกันในสถานประกอบกจการเหมือนปกติ เนื่องจากอาจทำให้เกิด
ิ
การติดเชื้อเป็นกลุ่มใหญ่ในโรงงาน (Cluster) หรือลูกจ้างที่มาทำงานแต่ละคนอาจ
มาพาเชื้อที่ติดจากผู้ร่วมงานกลับไปบ้านแพร่เชื้อไปยังบุคคลในครอบครัวและเพื่อนบ้าน
เนื่องจากลูกจ้างบางคนไม่รับผิดชอบต่อตนเอง ไม่สนใจรักษาสุขภาพ ไม่ไปตรวจ
การติดเชื้อ ไม่ยอมไปฉีดวัคซีน หรือเนื่องจากนายจ้างประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ
รุนแรง ไม่มีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา จำต้องหยุดการผลิตไว้เป็นการชั่วคราว เป็นต้น
ข้อถามที่ว่า วันที่พนักงานหยุดไปนั้น นายจ้างควรเป็นฝ่ายขอหรือ
ให้ลูกจ้างใช้สิทธิในการลาประเภทใด หรือให้ลูกจ้างใช้เป็นวันหยุดประเภทใดนั้น
คงเป็นการสาดแนวคิดเชิงประนีประนอมและรักษาประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายเข้ามา
เพื่อเป็นกรอบครอบความเห็นอีกด้วย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดวันหยุดไว้ 3
ประเภท และวันลาไว้ 6 ประเภท เมื่อพิจารณาเหตุที่ลูกจ้างต้องหยุดงานตามที่
กล่าวแยกแยะไว้ข้างต้น ว่าสอดคล้องหรือใกล้เคียงกับวัตถุประสงค์ของการใช้
วันหยุดและวันลาทุกประเภทแล้ว เห็นได้ว่า วันลาป่วย มีวัตถุประสงค์ให้ลูกจ้างที่