Page 42 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 42
35
2. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ห้ามนายจ้าง
้
เลิกจางลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่มีการเจรจา การไกล่เกลี่ย
และการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน, มาตรา 52 ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในขณะดำรง
ตำแหน่งกรรมการลูกจ้าง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน, มาตรา 121 ห้าม
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างนัดชุมนุม ทำคำร้อง ยื่นข้อเรียกร้อง
เจรจาหรือดำเนินการฟ้องร้องฯ, มาตรา 123 ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้อง
กับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาดมีผลใช้
บังคับ
3. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.
2522 มาตรา 49 ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสามารถนำคดีไปฟ้องศาลแรงงานว่านายจ้าง
เลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้ ถ้าศาลเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ก็จะสั่ง
ให้นายจ้างรับลูกจ้างนั้น เข้าทำงานต่อไปหรือสั่งให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่
ลูกจ้างแทน
4. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 นายจ้างที่
จะเลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่าย
ค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจายค่าจ้างคราว
่
ถัดไป, มาตรา 17/1 นายจ้างที่ไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบตามมาตรา 17
ต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรได้รับนับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออก
จากงานจนถึงวันที่การเลิกจ้างมีผล, มาตรา 43 ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็น
หญิงเพราะเหตุมีครรภ์, มาตรา 118 นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ถูก
เลิกจ้างตามอัตราที่กำหนด, มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใหแก่ลูกจ้าง
้
หากได้เลิกจ้างด้วยเหตุตามกรณีที่กำหนดไว้, มาตรา 121 นายจ้างที่เลิกจ้างลูกจ้าง
เพราะเหตุปรับปรุงกิจการฯ ต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงานและลูกจ้างที่จะถูก
้
เลิกจางทราบ, และมาตรา 122นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแก่ลูกจ้างที่เลิกจาง
้
ตามมาตรา 121