Page 47 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 47
40
(ในปี พ.ศ. 2553 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในในจังหวัดทางภาคกลางของประเทศไทย
นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการหลายเดือน ในขณะที่นักเลงกฎหมายกำลังถกเถียงกัน หน้าเหลือง
หน้าแดงว่า การที่น้ำท่วมใหญ่ครั้งนั้นเกิดด้วยเหตุสุดวิสัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 หรือไม่ [ถ้าเกิดด้วยเหตุสุดวิสัย นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง
ให้แก่ลูกจ้างเลย แต่ถ้าไม่ใช่เหตุสุดวิสัย นายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า
75% ของค่าจ้างในวันทำงาน] นายจ้างที่ไม่สนใจเหตุสุดวิสัยและประสงค์จะจ่ายค่าจ้างให้
ลูกจ้างที่ต้องหยุดงานเต็มจำนวน ในหลักการต่างฝ่ายต่างได้ (Win – Win strategy) .....
เพียงแค่นายจ้างดังกล่าว ออกคำสั่งจัดวันน้ำท่วมที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานเป็นวันหยุดพักผ่อน
ประจำปีฯ ตามที่มีใครสักคนแนะนำ นายจ้างนั้นก็พลันหลุดจากหนี้วันหยุดพักผ่อนประจำป ี
สะสมตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และวันหยุดพักผ่อน
ประจำปีของปีที่น้ำกำลังท่วมนั้นทันที.....)
(4) ลูกจ้างในบริษัทส่วนหนึ่งไม่ยอมไปฉีดวัคซีน อ้างว่าวัคซีน
มีพิษบ้าง มีแพ้ มีไข้ มีตาย มียาดี มีฟ้าทลายโจร ทำให้นายจ้างและ
ลูกจ้างที่ฉีดวัคซีนแล้วต่างกลัวว่าลูกจ้างกลุ่มดังกล่าวจะเป็นตัวแพร่เชื้อโรค
ดังนี้ นายจ้างจะใช้อำนาจในการบริหารจัดการและอำนาจในการบังคับ
บัญชา ออกคำสั่งให้ลูกจ้างส่วนนั้นไปฉีดวัคซีน โดยนายจ้างออกค่าใช้จ่าย
และอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปกลับให้ และหากลูกจ้างยังคง
ฝ่าฝืนคำสั่งอยู่ นายจ้างจะลงโทษทางวินัย หรือจะใช้มาตรการตัดสิทธิ
ั
ประโยชน์ที่นายจ้างฝ่ายเดียวจดให้ (เช่น งดหรือลดการจ่ายโบนัสในปีนี้)
แก่ลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่งนั้น จะกระทำได้หรือไม่ เพียงใด ?
(ขอเปลี่ยนคำถามให้ครอบคลุมแต่กระชับขึ้นว่า นายจ้างมีอำนาจสั่ง
ให้ลูกจ้างไปตรวจร่างกายว่าติดเชื้อโรคโควิดหรือสั่งให้ลูกจ้างไปรับการฉีดวัคซีน
โดยนายจ้างอำนวยความสะดวกฯ ได้เพียงใดหรือไม่ หรือลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ
ตามคำสั่งของนายจ้างดังกล่าวนั้น เพียงใด)