Page 209 - บทความทางวิชาการหลักสูตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 21
P. 209
๑๙๖
โต้แย้งคัดค้านได้ตามขั้นตอนที่กฎหมายก าหนดไว้ หากไม่ใช้สิทธิดังกล่าวภายในระยะเวลา ค าสั่งทาง
ปกครองย่อมถึงที่สุด เจ้าหน้าที่ผู้ออกค าสั่งสามารถใช้มาตรการบังคับทางปกครองให้เป็นไปตาม
เจตนารมณ์แห่งกฎหมายนั้นๆ ได้ โดยในส่วนของการจัดเก็บภาษีอากร หน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะมีกฎหมายเฉพาะของแต่ละหน่วยงานที่ให้
อ านาจเจ้าพนักงานออกคาสั่งทางปกครองโดยการแจ้งการประเมินไปยังผู้ค้างช าระภาษีอากร หากไม่มีการ
ช าระให้ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานสามารถใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยการยึด อายัดและขาย
ทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเหล่านั้นได้ นอกจากนี้กฎหมายทั่วไป
คือพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 57 บัญญัติให้อานาจ เจ้าหน้าที่
ผู้ออกค าสั่งสามารถใช้มาตรการบังคับทางปกครอง หากกรณีใดยังไม่มีกฎหมายเฉพาะก าหนดไว้ได้ จึงเห็น
ได้ว่าการที่กฎหมายดังกล่าวได้ให้อานาจเจ้าพนักงานสามารถใช้มาตรการบังคับทางปกครองในการยึด
อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีได้เองโดยไม่ต้องใช้สิทธิทางศาล เนื่องจากเล็งเห็นว่าการ
จัดเก็บภาษีอากรเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องน าเงินมาใช้ประโยชน์ในการพฒนาประเทศจึงบัญญัติกฎหมาย
ั
ให้อ านาจไว้
การบังคับใช้มาตรการทางปกครอง ด้วยวิธีการออกค าสั่งยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ื่
ของลูกหนี้ผู้ค้างภาษีอากรเพอน าเงินมาช าระหนี้ภาษี เป็นมาตรการติดตามเร่งรัดและบังคับช าระหนี้กับ
ทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางศาล ซึ่งกฎหมายภาษีอากรบัญญัติ
ให้อานาจอธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพสามิต ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหาร
ท้องถิ่นมีอานาจในการบังคับช าระหนี้ภาษีอากรค้างจากลูกหนี้ภาษีได้เอง ท าให้เจ้าหน้าที่ที่มีอานาจ
ด าเนินการต่างๆ ในอนจะรับช าระหนี้หรือบังคับเอากับทรัพย์สินตามค าสั่งเช่นเดียวกับอานาจของ
ั
เจ้าพนักงานบังคับคดี การใช้อานาจบังคับคดีด้วยตนเองโดยหน่วยงานของรัฐดังกล่าวย่อมมีประสิทธิภาพ
้
และรวดเร็วกว่าการด าเนินคดีทางศาล แต่หน่วยงานจัดเก็บภาษีของรัฐบางหน่วยงานเลือกที่จะฟองคดีกับ
ผู้ค้างภาษีอากรเพอจะได้บังคับคดีตามค าพพากษา โดยไม่ใช้มาตรการยึด อายัดและขายทอดตลาดกับ
ื่
ิ
ผู้ค้างภาษีอากรเสียก่อนทั้งที่กฎหมายให้อานาจไว้ ผู้เขียนจึงวิเคราะห์ปัญหาข้อขัดข้องในการบังคับใช้
มาตรการดังกล่าวได้ดังนี้
๑. ปัญหากฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับวิธีการบังคับใช้มาตรการทางปกครองด้วยวิธีการยึด อายัด
และขายทอดตลาดของกรมศุลกากรแตกต่างจากกรมสรรพากรและกรมสรรพสามิต
เมื่อบุคคลใดต้องตกอยู่ในฐานะลูกหนี้ภาษีอากรค้าง กฎหมายได้ให้อานาจแก่เจ้าพนักงาน
หน่วยงานจัดเก็บภาษีในการเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้างโดยวิธีการทวงถามให้ช าระค่าภาษี หากผู้ค้างภาษี
อากรหรือผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรไม่ช าระให้ครบถ้วนภายในก าหนดเวลาตามหนังสือทวงถาม กฎหมาย
ให้อ านาจเจ้าพนักงานด าเนินการยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ซึ่งในแต่ละหน่วยงานจัดเก็บภาษีก็
จะมีกฎหมาย ระเบียบ แนวทางปฏิบัติแตกต่างกันไป ในการเร่งรัดภาษีอากรค้างนั้น นอกจากหน่วยงาน
จัดเก็บต้องการเม็ดเงินจากผู้ค้างภาษีอากรมาใช้เพอพฒนาประเทศแล้ว จุดประสงค์อกประการหนึ่งก็คือ
ั
ื่
ี