Page 273 - บทความทางวิชาการหลักสูตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 21
P. 273

๒๖๐




                                * มาตรการนี้ได้รับการสันนิษฐานว่ามีความเหมาะสมส าหรับความผิดครั้งแรกและเป็น
                     ความผิดไม่รุนแรง(a non-violent offence and not previously been found guilty of an

                     offence)

                                * มาตรการนี้อาจน ามาใช้กับเด็กกระท าความผิดที่เคยมีประวัติว่าเคยเข้าสู่มาตรการนี้มา
                     ก่อนแล้วหรือเคยถูกตัดสินว่าเคยกระท าความผิดมาแล้ว

                                การแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ มีบทบัญญัติ ก าหนดให้เจ้าหน้าที่ต ารวจเก็บรักษาประวัติการใช้
                     มาตรการนี้กับเด็กและประวัติดังกล่าวจะเป็นตัวช่วยให้เจ้าหน้าที่ต ารวจสามารถน ามาประกอบการใช้

                         ิ
                              ื่
                     ดุลพนิจเพอเลือกใช้มาตรการที่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อเด็กในการกระท าความผิดครั้งต่อไป
                     นอกจากนี้แล้วกฎหมายยังก าหนดให้เจ้าหน้าที่ต ารวจต้องพิจารณาการน ามาตรการนี้มาใช้ทุกครั้งก่อนที่
                     จะตัดสินใจว่าจะแจ้งข้อกล่าวหาด าเนินคดีกับเด็กหรือไม่ ดังนั้นการแก้ไขกฎหมายนี้ท าให้เจ้าหน้าที่

                                            ั
                     ต ารวจและรวมถึงพนักงานอยการได้รับอานาจพเศษในการเลือกใช้มาตรการนี้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
                                                             ิ

                     ก่อนที่จะพจารณาว่าแจ้งข้อกล่าวหาต่อเด็กหรือไม่ วิธีการหรือมาตรการที่เจ้าหน้าทีต ารวจหรือพนักงาน
                              ิ
                     อัยการสามารถเลือกน าปฏิบัติเมื่อพบเด็กกระท าความผิดกฎหมายมีดังต่อไปนี้
                                * ไม่ด าเนินการใด ๆ (Taking no further action) และส่งตัวเด็กไปยังบิดามารดาหรือ
                     ผู้ดูแล
                          ๓๗
                                * การตักเตือน (Warning)อย่างไม่เป็นทางการโดยเจ้าหน้าที่ต ารวจ

                                * การตักเตือนอย่างเป็นทางการ(Police caution) เป็นการว่ากล่าวตักเดือนอย่างเป็น
                     ทางการที่เจ้าหน้าที่ต ารวจด าเนินการ โดยกฎหมายให้อานาจแต่ละจังหวัด(provinces)  ในการจัดตั้ง

                     โครงการตักเตือน โดยมีเจ้าหน้าที่ต ารวจเป็นผู้ด าเนินการ (police caution programs) การตักเตือน
                     โดยเจ้าหน้าที่ต ารวจอาจเป็นในรูปแบบจดหมายตักเตือนถึงเด็กและบิดามารดาของเด็ก  หรืออาจเป็น

                                                                                                   ู
                                                                                                ื่
                     กระบวนการที่เด็กและบิดามารดาถูกเรียกตัวให้มาพบเจ้าหน้าที่ต ารวจที่สถานีต ารวจเพอพดคุยกับ
                     เจ้าหน้าที่ต ารวจที่มีอาวุโส(a senior police officer)
                                                  ั
                                * การตักเตือนโดยอยการ (Crown caution) เป็นวิธีการเหมือนกับการตักเตือนโดย
                     เจ้าหน้าที่ต ารวจแต่พนักงานอัยการตักเตือนหลังจากเจ้าหน้าที่ต ารวจส่งคดีมาให้แล้ว วิธีการตักเตือนจะ

                     เป็นในรูปแบบส่งจดหมายไปยังเด็กและบิดามารดา
                                * การส่งต่อ (Referral) เป็นวิธีการที่เจ้าหน้าที่ต ารวจส่งเด็กไปบ าบัดที่โครงการชุมชุม

                     บ าบัด (community programs) แทนการแจ้งข้อกล่าวหาเด็กว่ากระท าความผิด(pressing a charge

                     against the youth)  การส่งต่อนี้อาจมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับว่าในชุมชุมที่มีความผิดเกิดขึ้นนั้นมี
                     การจัดตั้งโครงการประเภทใด เช่น โครงการสันทนาการหรือการให้ค าปรึกษา(recreation programs

                     and counselling programs)


                            ๓๗  The Youth Criminal Justice System Retrieved on July 29,2021, from https://k12resources.
                     nelson.com/social_studies/9780176685751/student/pdf/AAL_SB_Ch_10_p326-351.pdf
   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278