Page 405 - บทความทางวิชาการหลักสูตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 21
P. 405

๓๙๒







                                                                                                      ื่
                     หมายถึง ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ที่คนทั่วไปมองว่าเลวร้ายจนไม่อาจควบคุมได้ เพอให้
                                                    2
                     ตนรอดพ้นจากสถานการณ์อันเลวร้าย
                             (๓) วัยรุ่นมักใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ
                             การศึกษาในเขตเทศบาลและเขตนอกเทศบาลใน ๗ จังหวัดของประเทศไทยพบว่าร้อยละ

                     ๓๕.๗ ของผู้ใช้รถจักรยานยนต์มีอายุน้อยกว่า ๒๔ ปี ร้อยละ ๖๑.๒ เริ่มขับขี่เมื่ออายุน้อยกว่า ๑๘ ปี
                     ๕ ใน ๑๐ ในกรุงเทพมหานครพบว่าร้อยละ ๗๗ ที่บาดเจ็บจากการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ

                                                                                                       ั
                     ร้อยละ ๒๕ จดทะเบียนการใช้รถจักรยานยนต์ร้อยละ ๖๘ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขับขี่ทั่วประเทศที่ขบขี่
                     โดยไร้สิ่งป้องกัน (Unprotected road user) มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและการตายสูงกว่าผู้ใช้รถยนต์
                     ๑๐-๑๕ เท่า กลุ่มวัยรุ่นมีความเสี่ยงสูงสุด ผู้ใช้ในชนบทมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ใช้ในเมืองร้อยละ ๕๐ เป็น

                     เด็กวัยรุ่นอายุน้อยกว่า ๒๐ ปี และไม่มีใบอนุญาตขับขี่
                             (๔) วัยรุ่นมักมีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติดก่อนการขับขี่รถ

                             การศึกษาวัยรุ่นที่ขับขี่แล้วได้รับบาดเจ็บมารับการตรวจรักษาในห้องฉุกเฉินพบว่าภาวะเมา

                     แล้วขับร้อยละ ๑๖ โดยที่ร้อยละ ๕ มีค่าอยู่ระหว่าง ๑-๑๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และร้อยละ ๑๑ มีค่า
                     มากกว่า ๕๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แม้ว่าสัดส่วนการเมาในวัยกลางคนจะสูงกว่าวัยรุ่นก็ตาม แต่เมื่อ

                     พิจารณาความรุนแรงจะพบว่าวัยรุ่นที่อยู่ในภาวะเมาจะได้รับบาดเจ็บที่รุนแรงกว่ากลุ่มอายุอื่น

                             (๕) วัยรุ่นมักไม่นิยมใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย
                             วัยรุ่นมักไม่สวมใส่หมวกนิรภัยในการขับรถจักรยานยนต์และไม่คาดเข็มขัดนิรภัยในการขับ

                                    ึ
                                                                   ี่
                     รถยนต์ จากการศกษาพบว่าวัยรุ่นที่บาดเจ็บจากการขับขรถจักรยานยนต์ใช้หมวกนิรภัยร้อยละ ๔๗ โดย
                     ที่วัยรุ่น ๑๐-๑๔ ปีใช้เพยงร้อยละ ๑๒ วัยรุ่นอายุ ๑๕-๑๙ ปี ใช้ร้อยละ ๕๑.๗ ส่าหรับผู้โดยสารพบว่า
                                         ี
                     วัยรุ่นที่บาดเจ็บจากการโดยสารรถจักรยานยนต์ใช้หมวกนิรภัยร้อยละ ๒๕.๗ กลุ่มที่บาดเจ็บจากการ

                     โดยสารรถยนต์เกือบทั้งหมดไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยเลย การศึกษาของ National Highway Traffic
                     Safety Administration (NHTSA) ในสหรัฐอเมริกาพบว่า หมวกนิรภัยสามารถลดการตายจากการ

                                                      3
                     บาดเจ็บที่ศีรษะมากกว่าผู้ไม่ใช้ถึง ๓ เท่า
                             ๒.๒ พระราชบัญญัติรถยนต์
                                พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นบทบัญญัติที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้รถยนต์

                     ในชีวิตประจ่าวันของประชาชน ซึ่งอธิบายถึงข้อปฏิบัติและข้อห้ามต่าง ๆ เกี่ยวกับการจดทะเบียน
                     เครื่องหมาย และการใช้รถ ภาษีประจ่าปี ใบอนุญาตขับรถ บทก่าหนดโทษ และมีความส่าคัญต่อการ


                            2   สกุลยุช  หอพิบูลสุข,  ณัฏฐิรา  หอพิบูลสุข,  เด็กแว้นกับเด็กสก็อย  มุมมองทางอาชญาวิทยา,  นิตยสารบท

                     บัณฑิตย์ เล่มที่ ๖๘ ตอน ๒ มิถุนายน ๒๕๕๕, หน้า ๑๑๐.
                            3   อดิศักดิ์  ผลิตผลการพิมพ์,  อุบัติเหตุจราจรทางบก  :  เหตุน่าการตายของวัยรุ่น  (Traffic  Injuries  :  the
                     Leading Cause of Death in Adolescents). สืบค้นเมื่อ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จาก https://www.csip.org
   400   401   402   403   404   405   406   407   408   409   410