Page 536 - บทความทางวิชาการหลักสูตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 21
P. 536
๕๒๔
> ปกติประเพณี หมายถึง ตามที่คู่สัญญาเชื่อถือและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ยังต้องค านึงถึงวิธีที่คู่สัญญาเคยปฏิบัติต่อกันและกันมาด้วย แต่ปกติประเพณีที่จะน ามาพเคราะห์
ิ
ประกอบการตีความในสัญญา หมายถึง ประเพณีที่เป็นปกติต่อเนื่องกันและเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับข้อ
สัญญานั้น เป็นประเพณีที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายรู้ดีเป็นประเพณีแน่นอนเป็นแบบอย่างเดียวกัน ชอบด้วยเหตุและ
ผลอนสมควรและไม่ขัดต่อกฎหมาย แต่ถ้าในสัญญามีข้อความระบุไว้แตกต่างกับปกติประเพณีโดยชัดแจ้งจะ
ั
น าเอาปกติประเพณีมาใช้บังคับไม่ได้
๓
ื่
> หลักที่ใช้ประกอบในการตีความสัญญา เพอค้นหาเจตนารมณ์ของคู่สัญญา
มีดังนี้
- การหาเจตนารมณ์ของคู่สัญญาจะต้องพิจารณาสัญญานั้นทั้งฉบับ
- ถ้ามีสัญญาหลายฉบับ ต้องพิจารณาสัญญาทุกฉบับร่วมกัน
- การแสวงหาเจตนารมณ์ของคู่สัญญาในขณะท าสัญญาอาจหาได้จากการที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อ
กันและกันได้
- ต้องถือตามที่ปรากฏในลายลักษณ์อักษรนั้นเป็นส าคัญ
- กรณีที่ข้อความในสัญญาเกิดขัดแย้งกันเองจนไม่อาจหาเจตนารมณ์ของคู่กรณีได้ ศาลอาจ
รับฟังข้อเท็จจริงอื่นเพื่อประกอบการตีความเจตนารมณ์ของคู่สัญญาได้
- สัญญานั้นต้องตีความไปในทางที่มีผลบังคับได้ คือ การตีความให้เป็นผลดีกว่าที่จะตีความให้
ไร้ผล ตรงกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๐ ซึ่งเป็นหลักรองรับหลักความคิดธรรมดา กล่าวคือ
ั
เมื่อบุคคลท าเอกสารอนใดขึ้นมาและอาจตีความได้เป็นสองนัย เช่นนี้ เมื่อจะตีความเอกสารนั้นก็น่าจะตีความ
ไปในทางที่ให้เป็นผลบังคับได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วการที่บุคคลนั้นท าเอกสารขึ้นก็จะไม่ได้ผลอย่างใด
- ในกรณีที่มีข้อสงสัยต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้
นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑ จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อกรณีเป็นที่สงสัยเท่านั้นจึงจะตีความ
๔
ให้เป็นคุณแก่คู่กรณีผู้ซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียประโยชน์ คือ กฎหมายวางหลักให้ตีความไปในทางที่จะให้มีความ
รับผิดชอบน้อย
๓ เล่มเดิม, หน้า ๒๔๐-๒๔๑
๔ "ผู้ซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้" หมายถึง ลูกหนี้ หรือบุคคลที่จะต้องรับผิดในสัญญา ตลอดจนผู้ซึ่งจะต้องเสียหรือ
ขาดประโยชน์ในสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง