Page 315 - วารสารกฎหมาย ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษ
P. 315

ฉบับพิเศษ ประจำ�ปี 2564



                                    ทฤษฎีการให้อภัยของนายจ้าง

                               (Doctrine of Employer Condonation)

                         กับความผิดบางประการของลูกจ้างในคดีแรงงาน




                                                                       ดร.มนุเชษฐ์  โรจนศิริบุตร*




            บทน�า


                                                                      ี
                                                                   ี
                                                       ึ
                                                               ื
                    ประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงานส่วนหน่ง เป็นเร่องท่เก่ยวข้องกับสิทธิของนายจ้าง
            ในการเลิกจ้างลูกจ้างท่กระทําผิด ซ่งตามกฎหมายแล้วหากลูกจ้างกระทําผิดจริง หรือมีเหต  ุ
                                            ึ
                                 ี
            ตามกฎหมายที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ นายจ้างก็อาจไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ที่เกี่ยวกับ
            การเลิกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย หรือ
                                                                    ื
            ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แต่ความกลับปรากฏว่าเม่อลูกจ้างกระทําผิดหรือนายจ้าง
                                              ี
            มีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยมีเหตุตามท่กฎหมายกําหนดไว้แล้ว แต่นายจ้างกลับไม่เลิกจ้างลูกจ้าง
            และยังคงให้ลูกจ้างทํางานต่อไป ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะนายจ้างจะยังคง

            มีสิทธิที่จะเลิกจ้าง หรือจะกลับมาใช้สิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้อีกหรือไม่
                                                    ี
                                                      ี
                    ในประเด็นปัญหาน้ มีแนวคิด ทฤษฎี ท่เก่ยวข้อง คือ Doctrine of Employer Condonation
                                    ี
            หรือแนวคิด  ทฤษฎี  การให้อภัยของนายจ้าง  แนวคิด  ทฤษฎี  การให้อภัยของนายจ้าง
                                                                                      ี
            เป็นหลักการท่ได้รับการยอมรับในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (common law)  ในคดีท่พิพาทกัน
                         ี
                                                                               1
                    *  ผู้พิพากษาศาลช้นต้นประจํากองผู้ช่วยผู้พิพากษา และเลขานุการแผนกคดีแรงงาน ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษ,
                                ั
            นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายระหว่างประเทศ), เนติบัณฑิตไทย, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ทุนสํานักงานศาลยุติธรรม โครงการสร้าง
            ผู้เชี่ยวชาญในการบริหารราชการศาลยุติธรรม), Cert. in International & Transnational Law, Chicago-Kent College of Law,
            Illinois Institute of Technology, Dip. in Contemporary Legal Studies, Kyushu University, Cert. in Labour Law: International
            & UK Standards, University of Nottingham, Cert. in Research Methodology, Linnaeus University
                    1   ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common law) เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาข้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความ
                                                                  ึ
            ของศาล และศาลชํานัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดําเนินการของฝ่ายบริหาร
            ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์เป็นระบบกฎหมายซ่งให้นําหนักในการปฏิบัติตามคําพิพากษาท่มีมาก่อนเป็นอย่างมาก บนแนวคิด
                                                                        ี
                                            ึ
                                                ้
            ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการอยุติธรรมหากศาลจะมีคําพิพากษาที่แตกต่างกัน สําหรับคดีพิพาทซึ่งมีข้อเท็จจริงที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ด้วย
            เหตุผลที่ว่าคําพิพากษาเป็นที่มาประการหนึ่งของกฎหมาย (a source of law) ในระบบกฎหมายนี้ ด้วยเหตุนี้การตัดสินคดีใน
            ระบบ "คอมมอนลอว์" จึงไม่ได้เป็นเพียงการตีความกฎหมาย แต่มีผลเป็น "บรรทัดฐานทางกฎหมาย" (precedent) ที่ผูกมัดการ
            ตัดสินคดีในอนาคตตามไปด้วย ทั้งนี้ตามหลักการภาษาละตินที่เรียกว่า stare decisis แปลว่า "ยืนตามคําวินิจฉัย (บรรทัดฐาน)
            ต่อไป”, สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/คอมมอนลอว์, เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564.



                                                                                             313
   310   311   312   313   314   315   316   317   318   319   320