Page 91 - ดุลพาห เล่ม3.indd
P. 91
ดุลพาห
การประยุกต์หลักการจัดการแบบอ้างอิงหลักฐาน
สำาหรับการจ่ายสำานวนคดีในศาลยุติธรรม*
ดร. มนุเชษฐ์ โรจนศิริบุตร**
บทนำา
มิติหนึ่งของการบริหารจัดการศาลยุติธรรมคือ มิติด้านการตัดสินใจ การตัดสินใจ
เป็นหน้าที่หลักอย่างหนึ่งของผู้บริหารศาลยุติธรรม แต่ในความเป็นจริงที่ผ่านมา ข้าราชการ
ฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมทั้งในหมู่ผู้พิพากษา และเจ้าหน้าที่ มักจะกังขาคลางแคลงใจกับ
๑
การบริหารจัดการของผู้บริหารศาล ว่าการตัดสินใจนั้นอยู่บนพื้นฐานอะไร มีหลักฐานหรือ
สิ่งอื่นใดที่ใช้เป็นหลักอ้างอิงในการบริหารจัดการหรือไม่ โดยเฉพาะในหมู่ผู้พิพากษา ปัญหา
ประการสำาคัญที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้พิพากษาแต่ละคนได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าของสำานวนคดี
ในแต่ละเรื่องที่ได้รับการจ่ายสำานวนคดีจากผู้บริหารศาล จะมีความเครียดจากความรู้สึกที่ว่า
ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการแบ่งงานและขอบเขตความรับผิดชอบ และผู้พิพากษาจะเกิด
ความเครียดมากขึ้นเมื่อต้องพิจารณาคดีที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถสูงเกินไป หรือเมื่อต้อง
พิจารณาคดีในเรื่องที่ขาดความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งเมื่อต้องพิจารณาคดีในเรื่องที่ไม่มี
ความชำานาญและความถนัด (นุชรัตน์ สิริประภาวรรณ, 2542) กล่าวคือ จะเกิดความเครียด
ผันแปรไปตามความยากง่ายในคดีแต่ละเรื่องที่จะต้องทำาการพิจารณาพิพากษา จำานวนปริมาณ
คดีที่ได้รับมอบหมายให้พิจารณาพิพากษาในแต่ละเดือน การพิจารณาคดีที่มีความยาก
ซับซ้อนต่อการตัดสิน โดยเฉพาะการบริหารจัดการของผู้บริหารศาลในการจ่ายสำานวนคดีให้แก่
ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นตามมาเสมอในหมู่ผู้พิพากษาคือ การใช้ดุลพินิจ
* งานวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยทุนสำานักงานศาลยุติธรรม ในโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญ
ในการบริหารราชการศาลยุติธรรม.
** ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำากองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำานัญพิเศษ.
๑. ต่อไปหากมิได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่น ศาล หมายถึง ศาลยุติธรรม และผู้บริหารศาล หมายถึง ผู้บริหารศาล
ยุติธรรม.
80 เล่มที่ ๓ ปีที่ ๖๕