Page 89 - ดุลพาห เล่ม3.indd
P. 89

ดุลพาห




                     การบังคับหลักประกันทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.
            ๒๕๕๘ จะแบ่งการบังคับหลักประกันออกเป็นการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการและการ

            บังคับหลักประกันที่เป็นทรัพย์สิน ซึ่งการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการจะเป็นการบังคับ

            โดยวิธีการจำาหน่ายตามที่ผู้บังคับหลักประกันเห็นสมควร ส่วนการบังคับหลักประกันที่เป็น
            ทรัพย์สิน ผู้รับหลักประกันมีสิทธิเข้าบังคับหลักประกันได้ทันทีโดยไม่จำาเป็นต้องฟ้องคดีต่อศาล

            เว้นแต่ผู้ครอบครองทรัพย์จะไม่ยินยอมส่งมอบให้ โดยการบังคับหลักประกันที่เป็นทรัพย์สิน
            จะจำาหน่ายด้วยวิธีการประมูลโดยเปิดเผยหรือเอาทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิก็ได้หากเข้าเงื่อนไข

            ตามกฎหมาย ดังนั้น การบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการและทรัพย์สินจึงมีผู้ที่ทำาหน้าที่ในการ
            จำาหน่ายต่างกัน แต่ล้วนเป็นดุลพินิจของผู้ที่จะบังคับหลักประกัน โดยไม่มีการบัญญัติกำาหนดวิธี

            การจำาหน่ายกิจการหรือทรัพย์สินว่าต้องใช้วิธีการใด แตกต่างกับการบังคับคดีของเจ้าพนักงาน

            บังคับคดีที่มีกฎกระทรวงกำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ.
            ๒๕๕๙ ที่มีการกำาหนดวิธีการและขั้นตอนเพื่อให้เป็นไปโดยยุติธรรม อีกทั้งหากการบังคับหลัก
            ประกันในกรณีที่จำานวนหนี้เหลือน้อยกว่าหลักประกันทางธุรกิจและไม่มีความจำาเป็นที่จะต้อง

            บังคับหลักประกันด้วยการจำาหน่ายแล้ว แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติว่าให้ใช้วิธีการใดมีเพียงกฎหมาย

            บัญญัติว่าการบังคับหลักประกันจะต้องจำาหน่ายหรือเอาหลุดเป็นสิทธิตามมาตรา ๔๐ และ
            มาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ เท่านั้น ซึ่งการจำาหน่ายโดย

            การประมูลหรือจำาหน่ายโดยเปิดเผยวิธีการหนึ่ง คือ การขายทอดตลาดซึ่งอาจทำาได้หลายวิธี
            ไม่ว่าจะเป็นการขายทอดตลาดแบบยื่นซองเสนอราคา การขายทอดตลาดแบบฮอลันดา (Dutch

            Auction) ที่ให้ขานเสนอราคาสูงสุด หรือการขายทอดตลาดแบบอังกฤษ (English Auction)
                                                 ๒๓
            ที่ยื่นซองเสนอราคา แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้  โดยการยื่นซองเสนอราคานั้นต้องใช้ระยะเวลา
            ในการดำาเนินการ จึงเหมาะสำาหรับการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ ส่วนการขายทอดตลาด

            แบบฮอลันดามีความสะดวกและรวดเร็ว จึงเหมาะแก่การบังคับหลักประกันที่เป็นทรัพย์สิน
            มากกว่า แต่การเสนอราคาแบบฮอลันดาอาจเกิดการสมคบกันได้ ซึ่งอาจมีการใช้วิธีการขาย

            ทอดตลาดผ่านทางออนไลน์ที่ผู้ประมูลไม่ต้องพบเจอกันเพื่อป้องกันและเป็นการสะดวก
            ในการจำาหน่าย



            ๒๓.  โชติ จ้ายหนองบัว.  กระบวนการบังคับคดีหุ้นที่ยึดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี.  (ออนไลน์).  เข้าถึงได้จาก
                 http://www.dpu.ac.th/graduate/upload/content/files/ปีี่ที่%204%20ฉบับที่%202%20เดือนธันวาคม
                 %202558%20-%20มีนาคม%202559/vol4-2-8.pdf.  [๒๕๖๑, ๘ สิงหาคม].




            78                                                               เล่มที่ ๓ ปีที่ ๖๕
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94