Page 90 - ดุลพาห เล่ม3.indd
P. 90

ดุลพาห




                        การบังคับหลักประกันที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือที่เป็น
               ส่วนหนึ่งของกิจการตามกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจของไทยนั้นมีความแตกต่างกัน หาก

               เป็นกิจการจะมีการตั้งผู้บังคับหลักประกันที่เหมือนกับผู้ดูแลและบังคับหลักประกัน (Receiver)

                                                           ๒๔
               ของประเทศอังกฤษในเรื่องหลักประกันแบบลอย ส่วนการบังคับทรัพย์สินจะมีลักษณะ
               เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่ผู้รับหลักประกันสามารถบังคับได้เองทันทีตาม Uniform

               Commercial Code Section 9-620 (b) (1)-(2) และ 9-506 ในเรื่องการนำาทรัพย์สินมาเป็น
               ประกัน (Secured Transactions) ซึ่งการบังคับหลักประกันของผู้รับหลักประกันที่มีความ

               รวดเร็วในการบังคับหลักประกันอาจเกิดความไม่ยุติธรรมในการดำาเนินการได้ อันไม่เป็นไป
               ตามหลักสุจริตทำาให้ลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดในหนี้ที่เหลือหลังจากบังคับหลักประกันแล้ว โดย

               ผู้รับหลักประกันอาจทำาการจำาหน่ายอย่างรวดเร็ว โดยไม่คำานึงถึงราคาที่จะได้รับ จึงควรที่จะมี

               ผู้บังคับหลักประกันในการบังคับหลักประกันทุกประเภทเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของ
               ทรัพย์สิน โดยมีการกำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบังคับหลักประกัน อย่างเช่น กฎกระทรวง
               กำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่จะกำาหนดถึงวิธี

               การเพื่อให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม แต่อย่างไรก็ดี วิธีบังคับหลักประกันทางธุรกิจในกรณีหนี้มี

               จำานวนน้อยกว่ามูลค่าของหลักประกันและหลักประกันยังคงมีรายได้เพื่อที่จะนำามาชำาระหนี้ได้
               ในอนาคต เช่น การตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือกิจการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา

               ความแพ่ง มาตรา ๓๖๐ เพื่อจัดการรายได้ที่เกิดจากอสังหาริมทรัพย์หรือกิจการเพื่อนำามาชำาระ
               หนี้โดยมีการกำาหนดเงื่อนไขว่าต้องไม่เป็นภาระแก่ผู้รับหลักประกันและเพื่อความยุติธรรมแก่

               ผู้ให้หลักประกัน ดังนั้น การบังคับหลักประกันจำาเป็นต้องมีผู้บังคับหลักประกันที่ไม่มีส่วนได้เสีย
               ในการบังคับหลักประกัน จึงต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘

               เพื่อให้มีอำานาจบังคับหลักประกันทุกประเภท โดยให้กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ

               กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ควบคุมดูแลและกำาหนดวิธีการบังคับหลักประกัน
               เพื่อให้เกิดความชัดเจนถึงหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติต่อไป รวมทั้งอาจมีการนำาวิธี

               การตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือกิจการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งผู้ให้หลักประกันและ
               ผู้รับหลักประกัน



               ๒๔. รชต จำาปาทอง. (๒๕๕๔). ปัญหาหลักประกันตามร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .....
                   วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต  สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ,  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัย
                   ธรรมศาสตร์.  หน้า ๖๙-๗๒.




               กันยายน - ธันวาคม ๒๕๖๑                                                      79
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95