Page 88 - ดุลพาห เล่ม3.indd
P. 88
ดุลพาห
๒๐
กฎหมาย ภาษี การเงิน ข้อสัญญา หรือด้านธุรกิจอื่นๆ ที่มีต่อการประเมินมูลค่า จึงเห็นว่า
ต้องมีการกำาหนดวิธีการประเมินเฉพาะและข้อมูลประกอบสำาหรับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
รวมทั้งไม้ยืนต้นที่ธนาคารต้นไม้ใช้ แต่ยังมิได้มีการกำาหนดให้เป็นวิธีการประเมินที่นำาไปใช้
กับหน่วยงานอื่นๆ ด้วย เพื่อให้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ดังนั้น การ
ประเมินมูลค่าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และไม้ยืนต้นควรมีการคิดวิธีการประเมินมูลค่าที่
เหมาะสมและมีการกำาหนดให้มีการประเมินโดยคำานึงถึงผลกระทบทางด้านกฎหมาย ภาษี
และข้อสัญญา รวมทั้งต้องมีการกำาหนดคุณสมบัติของผู้ประเมินมูลค่าให้มีความรู้ความ
สามารถในการประเมินทรัพย์สินแต่ละประเภทโดยกำาหนดให้สำานักงานคณะกรรมการกำากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่มีการประเมินทรัพย์สินในตลาดหลักทรัพย์กำาหนดรายละเอียด
ในเรื่องที่กล่าวมาข้างต้น
การบังคับหลักประกันทางธุรกิจ
การบังคับชำาระหนี้มีทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง คือ (๑) ทฤษฎีว่าด้วยสภาพ
บังคับ (The Sanction Theory) (๒) หลักสุจริต (The Principle of Good Faith) และ
(๓) หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน (Nemo Dat Qui Non Habet) ซึ่งการบังคับชำาระหนี้
ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่งก็ต้องเป็นไปตามหลักการดังกล่าวข้างต้นเพื่อที่จะนำาเงินมาชำาระหนี้แก่เจ้าหนี้ ไม่ว่า
จะเป็นการบังคับชำาระหนี้ผ่านกระบวนการทางศาล (Judicial Foreclosure) หรือการบังคับ
๒๑
ด้วยตนเอง (Self Help) โดยพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ ต้องการ
ให้การบังคับเป็นไปอย่างรวดเร็ว ๒๒
๒๐. ศรตม์ ดิษฐปาน. (๒๕๕๕). การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อวัตถุประสงค์ทางภาษีเงินได้.
วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า ๙๑ และ ๕๙ และ
๙๓ – ๙๖.
๒๑. ยิ่งศักดิ์ เพชรนิล. (๒๕๔๖). หลักประกันทางธุรกิจและปัญหาการบังคับทรัพย์สินหลักประกัน. วิทยานิพนธ์
นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำาแหง. หน้า ๕๘-๖๐.
๒๒. กำาชัย จงจักรพันธ์. (๒๕๕๗). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ:
ศรีอนันต์การพิมพ์. หน้า ๗๒.
กันยายน - ธันวาคม ๒๕๖๑ 77