Page 55 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 55

3) อุณหภูมิ มีผลต่อการดูดซับความชื้นของพืช ถ้าอากาศร้อนเกินไปต้นพืชจะแสดงอาการ
               ใบแห้งเหี่ยว แต่ถ้าอุณหภูมิต่ ามากพืชจะชะงักการเจริญเติบโต

                              4) ลม ลมที่แรงจนเกินไปจะท าให้ใบพืชฉีกขาดเป็นแผล ลมแรงท าให้รากสั่นคลอนเสียหาย
               และอาจเกิดโรครากเน่าได้ นอกจากนี้ลมอาจพัดพาสปอร์ของเชื้อราและแมลงพาหะ ท าให้เกิดการระบาดของ
               โรคพืช และแมลงศัตรูพืชได้
                              5) สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร เช่น ปุ๋ย สารก าจัดศัตรูพืช และฮอร์โมน ถ้าใช้ไม่ถูกต้อง ขาด

               การระมัดระวัง อาจท าให้พืชได้รับอันตรายและแสดงอาการผิดปกติได้
                              6) ความชื้นในดิน ถ้าดินมีความชื้นไม่เพียงพอ ท าให้เกิดการสะสมไอออนที่เป็นพิษ เช่น
               แมงกานีสหรือโบรอน ท าให้เนื้อเยื่อถูกท าลาย ปากใบปิดเพราะขาดความชื้น การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่
               จ าเป็นต่อการสังเคราะห์แสงถูกขัดขวาง ต้นพืชเหี่ยวแห้ง โตช้า แต่ถ้าความชื้นมากเกินไป เช่น น้ าที่ขังนาน ๆ

               ช่องว่างในดินเต็มไปด้วยน้ า อากาศภายในดินลดลง เกิดการสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจากสารพิษราก
               พืชเน่า ใบเหลือง ต้นแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต
                              7) ก๊าซพิษและสิ่งเจือปนในอากาศ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไอเสีย หมอกควัน ฝุ่น
               ละอองต่าง ๆ ถ้ามีในปริมาณมากอาจท าให้พืชแสดงอาการผิดปกติได้

                       2 โรคพืชไร่ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น เชื้อราแบคทีเรีย ไฟโตพลาสมา ไวรัส เมื่อท าให้พืชเป็นโรคแล้ว
               สามารถแพร่ระบาดไปสู่ต้นพืชอื่นได้ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับสาเหตุที่ท าให้พืชเป็นโรคเนื่องจากสิ่งไม่มีชีวิต โรค
               พืชที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตจะสร้างความเสียหายและความรุนแรงได้มากกว่า ท าให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น และมี

               พิษค้างของสารเคมีในผลผลิต ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เป็น
               สาเหตุของโรคพืชไร่ จะท าให้สามารถเข้าใจธรรมชาติและวงจรชีวิตของเชื้อโรค ซึ่งจะน าไปสู่การควบคุมโรคที่
               ถูกวิธีและได้ผล
                              1) โรคพืชไร่ที่เกิดจากเชื้อรา เชื้อราเป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์โดยใช้สปอร์
               รูปร่างแตกต่างกันตามชนิดของเชื้อรา เป็นสาเหตุของโรคพืชไร่กลุ่มใหญ่ที่สุด เชื้อรามักท าให้พืชไร่เป็นโรคที่

               ส าคัญส าคัญดังนี้
                                     - โรคใบจุด ลักษณะอาการ จะเกิดจุดที่ใบรูปร่างแตกต่างกัน กระจายทั่วไป ถ้าเกิด
               จุดมาก ๆอาจท าให้ใบไหม้ได้ เช่น โรคใบจุดของถั่วเขียว โรคใบจุดของถั่วลิสง เป็นต้น















                                     - โรคใบไหม้ บริเวณที่เชื้อราเข้าท าลายจะตายและยุบตัว เกิดแผลที่มีขอบเขตจ ากัด
               ถ้าเกิดโรครุนแรงแผลจะมีขนาดใหญ่ ท าให้เกิดอาการใบไหม้ โรคใบไหม้พบในพืชไร่หลายชนิด และทุกระยะ
               การเจริญเติบโตของพืช เช่น โรคใบไหม้ของข้าว เป็นต้น













               เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202                   หน้า 52
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60