Page 50 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 50

4. การปฏิบัติดูแลรักษาพืชไร่
                       หลังจากมีการปลูกพืชไร่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนที่มีความส าคัญมากที่สุดที่ส่งผลต่อผลผลิตทั้งปริมาณ

               และคุณภาพ คือ การปฏิบัติดูแลรักษา โดยเฉพาะพืชไร่เป็นพืชที่ปลูกในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ ถ้าการปฏิบัติดูแล
               รักษาไม่ดีหรือไม่ถูกวิธีจะท าให้การจัดการไม่ทัน ส่งผลเสียต่อผลผลิต ได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า
                       การปฏิบัติดูแลรักษาพืชไร่ หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับพืชไร่หลังการปลูกจนกระทั่งถึงการเก็บเกี่ยว
               เพื่อให้พืชไร่มีการเจริญเติบโตเต็มที่ ผลผลิตสูง ไม่ได้รับอันตรายจากสภาพที่ไม่เหมาะสม การปฏิบัติดูแลรักษา

               ประกอบด้วย การปลูกซ่อม การถอนแยก การให้น้ า การใส่ปุ๋ย การก าจัดวัชพืช การป้องกันก าจัดโรคและ
               แมลง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                       1. การปลูกซ่อม เป็นการปลูกพืชทดแทนพืชไร่ที่ปลูกไปแล้วไม่งอกหรืองอกน้อยจนเกินไป ไม่ได้
               จ านวนต้นตามที่ต้องการ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผลผลิตได้ การปลูกซ่อมต้องปลูกในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการ

               ปลูกพืชไร่ครั้งแรก คือ อยู่ในช่วง 3 - 7 วัน หลังจากพืชงอกแล้ว เพื่อให้ต้นที่ปลูกซ่อมโตทันกับต้นเดิม เพื่อ
               ความสะดวกในการเก็บเกี่ยว
                       2. การถอนแยก เป็นการน าต้นพืชที่ปลูกเกินจ านวนออกจากแปลงให้เหลือจ านวนต้นที่เหมาะสมต่อ
               พื้นที่ หลักในการถอนแยก มีดังนี้

                              1. ถอนแยกเฉพาะต้นที่แคระแกร็น เหลือต้นที่สมบูรณ์ไว้
                              2. ถอนแยกต้นที่เป็นโรค ไม่แข็งแรง
                              3. ถอนแยกในกลุ่มที่ขึ้นหนาแน่นจนเกินไป

                              4. ถอนแยกให้เหลือจ านวนต้นที่ต้องการ
                       3. การให้น้ าและการระบายน้ า
                       การให้น้ าเป็นการน าน้ าเข้าสู่แปลงพืชไร่ เพื่อการเจริญเติบโตของพืช การปลูกพืชไร่ต้องปลูกในขณะ
               ที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ คือ ถ้าดินไม่มีความชื้นหลังปลูกต้องมีการให้น้ าทันที เพราะน้ าจะเป็นตัวกระตุ้นการ
               งอกของเมล็ด หลังจากเมล็ดงอกแล้วพืชยังมีความต้องการน้ าในการเจริญเติบโต เพื่อการให้ผลผลิตที่ดี อีกพืช

               ไร่แต่ละชนิดมีความต้องการน้ าในปริมาณที่แตกต่างกัน
                       วิธีการให้น้ า สามารถท าได้หลายวิธี ดังนี้
                              1) การให้น้ าตามร่อง เป็นการให้น้ า โดยปล่อยน้ าให้ไหลไปตามร่อง หรือแถวปลูกพืช โดย

               อาศัยความลาดเทของพื้นที่ นิยมใช้กับพื้นที่ปลูกเป็นแถว บนร่องเนื้อดินละเอียดถึงหยาบปานกลาง และอยู่ใน
               เขตชลประทาน เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกันมาก เพราะลงทุนน้อย แต่มีข้อเสีย คือปริมาณน้ าที่ใช้ค่อนข้างสูง
                              2) การให้น้ าแบบท่วมแปลง เป็นการปล่อยน้ าเข้าท่วมผิวดินในแปลงปลูกทั้งหมด เป็นการ
               ใช้น้ าปริมาณมาก เหมาะกับการเพาะปลูกแบบหว่านหรือโรยเป็นแถว เช่น พวกธัญพืช พืชตระกูลถั่ว เป็น

               วิธีการที่สะดวก เสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่ต้องปรับพื้นที่ให้ราบเรียบและมีความลาดเทสม่ าเสมอ
                              3) การให้น้ าแบบพ่นฝอย เป็นวิธีการให้น้ าในลักษณะที่น้ าถูกพ่นฝอยออกจากหัวฉีด เป็น
               ฝอยปล่อยไปในอากาศ และจะตกลงสู่พื้นดินอย่างสม่ าเสมอ
                              4) การให้น้ าหยด เป็นการให้น้ าแก่พืชที่จุดใดจุดหนึ่งหรือหลายหลายจุดในบริเวณรากพืช

               ซึ่งสามารถให้ได้ทั้งบนผิวดินและใต้ดิน เหมาะกับพื้นที่มีปริมาณน้ าจ ากัด
                              5) การให้น้ าหยอด เป็นการหยอดน้ าลงไปในดินพร้อมกับการปลูกพืชไร่ เพื่อให้ดินมี
               ความชื้นเพียงพอต่อการงอก การเตรียมดินต้องย่อยพรวนดินให้ละเอียดมีความราบเรียบสม่ าเสมอ









               เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202                   หน้า 47
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55