Page 52 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 52

ปุ๋ยเคมีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามองค์ประกอบของธาตุอาหารหลักได้ ดังนี้
                               1) ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย คือ ส่วนประกอบปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลัก ซึ่งได้แก่ ไนโตรเจน

               ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เป็นองค์ประกอบอยู่ 1 หรือ 2 ธาตุแล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ย นั้น ๆ
               ตัวอย่างปุ๋ยเดี่ยว เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ปุ๋ยฟอสเฟต (0-46-0) ปุ๋ยโปแต
               สเซียมคลอไรด์ (0-0-60) ปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท (13-0-46)
                              2) ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยที่ได้จากการน าเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้

               มีปริมาณสัดส่วนของธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ตามที่ต้องการทั้งนี้เพื่อให้ได้ ปุ๋ยที่มี
               สูตรเหมาะสมกับชนิดของพืชและดิน เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 13-13-21  หรือ  18-6-4
                       4.2 วิธีการใส่ปุ๋ย
                       ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินนั้นพืชไม่สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีทั้งหมด ดังนั้นปุ๋ยมีโอกาสสูญเสียได้

               หลายทาง เช่น ถูกชะล้างโดยน้ า ระเหิดหายไปในอากาศ ถูกตรึงอยู่ในดิน หรือถูกวัชพืชแย่งไปใช้ ดังนั้นควร
               พิจารณาว่าจะใส่ปุ๋ยวิธีใดที่ท าให้พืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด สะดวก และง่ายต่อการปฏิบัติ และ
               ไม่เป็นอันตรายต่อพืช ซึ่งวิธีการใส่ปุ๋ยมีหลายวิธี ดังนี้
                              1. การใส่ปุ๋ยโดยวิธีหว่าน เป็นการใส่ปุ๋ยบนผิวดินเพื่อให้ปุ๋ยกระจัดกระจายสม่ าเสมอทั่วทั้ง

               แปลง นิยมหว่านก่อนการปลูกพืชในช่วงเตรียมดิน เมื่อวานปุ๋ยแล้วอาจจะพรวนกลบหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าพรวน
               กลบจะมีประสิทธิภาพดีกว่าไม่พรวนกลบ
                              2. การใส่ปุ๋ยแบบโรยเป็นแถบ เป็นการใส่ปุ๋ยตามแนวขนานกับต้นพืช เหมาะกับพืชที่ปลูก

               เป็นแถวเป็นแนว ถ้าโรยปุ๋ยพร้อมกับการหยอดเมล็ดต้องโรยให้ห่างจากเมล็ดประมาณ 5 เซนติเมตร การใส่ปุ๋ย
               ครั้งแรกเรียกว่า การใส่ปุ๋ยรองพื้น และใส่ครั้งที่ 2 ตามแนวของพืช โดยการโรยเป็นแถวตามแนวเดิมหรือขยาย
               แถวที่โรยปุ๋ยให้กว้างขึ้น เพื่อเพิ่มการกระจายของปุ๋ยก็ได้ การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เรียกว่า การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า
                              3. การใส่ปุ๋ยเฉพาะจุด เป็นการใส่ปุ๋ยเฉพาะที่ เฉพาะจุด หรือขุดเป็นรูเล็ก ๆ แล้วใส่ปุ๋ยลงไป
                              4. การใส่ปุ๋ยในรูปสารละลาย เป็นการให้ปุ๋ยที่ ในรูปของสารละลาย โดยอาจใช้สารเคมีที่

               ละลายน้ าง่าย หรือใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ าฉีดพ่นบนใบพืชหรือราดลงดิน
                       4.3 หลักการใส่ปุ๋ยพืชไร่
                       การใส่ปุ๋ยพืชไร่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีหลักการพิจารณาดังนี้

                              1. ปุ๋ยอินทรีย์ จะใส่เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุดิน ช่วยปรับโครงสร้างของดิน ท าให้ดินมี
               การระบายน้ า และถ่ายเทอากาศดีขึ้น ปริมาณธาตุอาหารหลักน้อย แต่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ธาตุอาหารแก่พืชอย่างช้า
               ๆ และมีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบเกือบทุกชนิด
                              2. ปุ๋ยอนินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี มีปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์อยู่มาก อยู่ในรูปที่พืช

               สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ทันที การใส่ปุ๋ยอนินทรีย์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อกับผลผลิตพืชไร่ ควร
               ค านึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
                                     1) ใส่ปุ๋ยให้ถูกชนิดกับความต้องการของพืชและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                                     2) ใส่ปุ๋ยให้ถูกอัตรา

                                     3) ใส่ปุ๋ยให้ถูกเวลาถูกช่วงในขณะที่พืชต้องการ
                                     4) ใส่ให้ตรงจุดที่พืชสามารถดูดไปใช้ได้ง่ายและเร็วที่สุด
                       จะเห็นได้ว่าทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป การเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่าง
               เดียวจะต้องใส่ในปริมาณที่มากถึงจะเพียงพอกับความต้องการของพืช ท าให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและแรงงาน

               มากขึ้น ในขณะที่ถ้าใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว อาจจะท าให้ไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะปัจจุบันปุ๋ยเคมีมีราคา




               เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202                   หน้า 49
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57