Page 54 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 54

ท าลายวัชพืชได้อย่างสิ้นซาก แต่อย่างไรก็ตามการควบคุมวัชพืชโดยใช้สารเคมี ถ้าใช้ไม่ถูกต้องอาจเป็นอันตราย
               ต่อผู้ใช้ ต่อพืชที่ปลูก ต่อสัตว์รวมทั้งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้

                       สารเคมีแต่ละชนิดแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ในการใช้จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ
               เกี่ยวกับคุณสมบัติของสารเคมี วิธีการ ตลอดจนข้อควรระมัดระวังจึงจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ
               ปลอดภัย ซึ่งแนวทางการควบคุมวัชพืชโดยใช้สารเคมีสามารถท าได้ ดังนี้
                              1. การใช้สารเคมีก่อนปลูกพืช เป็นการใช้สารเคมีพ่นก่อนการเตรียมดิน เพื่อก าจัดวัชพืชที่

               ขึ้นอยู่แล้วจึงไถเตรียมดิน หรือใช้สารเคมีพ่นก าจัดวัชพืชแทนการเตรียมดินแล้ว ปลูกพืชเลยจึงจะเป็นการ
               เตรียมดินแบบไม่มีการไถพรวนสารเคมีก าจัดวัชพืชที่ใช้ เช่น ไกลโฟเสท พาราควอท
                              2. การใช้สารเคมีก่อนงอก หรือเกษตรกรนิยม เรียกว่า ยาคุมหญ้า เป็นสารเคมีที่พ่นหลัง
               ปลูกพืชก่อนวัชพืชงอกและพืชปลูกยังไม่งอก เป็นการพ่นลงไปในผิวดินโดยตรงสารเคมีพวกนี้จะเข้าไปท าลาย

               วัชพืชทางส่วนของเมล็ดรากและยอดอ่อนใต้ดิน ท าให้วัชพืชไม่สามารถงอกโผล่พ้นดินได้ สารเคมีบางชนิดต้อง
               ฉีดพ่นในขณะที่ดินมีความชื้นเหมาะสม  เช่น อาลาคอร์ (alachlo) อาทราซีน (atrazine) เมโทลาคอร์
               (metolachlor)แต่สารเคมีบางชนิดสามารถฉีดพ่นในขณะที่ดินมีความชื้นน้อยได้เช่น อิมาซาพิค (imazapic)
               เพนดิเมทาลิน (pendimethalin)

                              3. การใช้สารเคมีหลังการงอก เกษตรกรนิยมเรียกว่า ยาฆ่าหญ้า เป็นการฉีดพ่นสารเคมี
               หลังจากที่วัชพืชงอก เป็นต้นอ่อนหรือต้นโตแล้วก็ได้ สารเคมีมีทั้งแบบการไม่เลือกท าลายและเลือกท าลาย
               เฉพาะวัชพืชใบแคบหรือใบกว้าง แต่อย่างไรก็ตามการใช้สารเคมีประเภทนี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพื่อ

               ไม่ให้กระทบกระเทือนต่อพืชปลูก เช่น ทูโฟดี (2, 4 - D)
                       การใช้สารเคมีในการควบคุมพืชจะมีความแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของพืชไร่ ซึ่งการใช้สารเคมีเพื่อให้
               เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องพิจารณาถึงชนิดของพืช และอายุของวัชพืช สภาพดินสภาพแวดล้อม และอัตรา
               การใช้ประกอบด้วย จะเห็นได้ว่าการก าจัดวัชพืชมีหลายวิธี การที่เกษตรกรจะเลือกใช้วิธีใดต้องพิจารณา
               เปรียบเทียบ-ข้อเสียของแต่ละวิธี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการก าจัดวัชพืช ไม่มีผลต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

               รวมถึงคุ้มค่าต่อการลงทุน

               6. การป้องกันก าจัดโรค

                       โรคเป็นสาเหตุส าคัญที่ท าให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก หรืออาจแทบไม่ได้เลย  การศึกษาเรื่องโรคพืชไร่
               จะท าให้สามารถป้องกันก าจัดได้ทันเวลา หรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
               6.1 โรคพืชไร่ สาเหตุที่ท าให้พืชไร่แสดงอาการผิดปกติหรือเป็นโรคเกิดขึ้นได้ 2 สาเหตุ ดังนี้
                        1. โรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตหรือสภาพแวดล้อม เป็นความผิดปกติอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่

               ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่
                              1) การขาดธาตุอาหาร มักพบกับพืชไร่ที่ปลูกในพื้นที่ซ้ าซ้ ากัน ในที่เดิมเป็นเวลานาน และไม่
               มีการให้ปุ๋ย หรือในดินเนื้อหยาบและดินทรายเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้การที่พืชได้รับแร่ธาตุบางชนิดมาก
               เกินไปก็อาจเกิดอาการเป็นพิษได้ รวมทั้งอาจท าให้มีปฏิกิริยาต่อต้านธาตุอาหารอื่น ๆ ซึ่งก็เป็นสาเหตุให้พืช

               แสดงอาการผิดปกติได้เช่นเดียวกัน
                              2) ดิน มีสภาพเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป ท าให้พืชเจริญเติบโตช้า แคระแกรน สภาพดิน
               โดยทั่วไปที่เหมาะสมกับการปลูกพืชไร่ คือ สภาพที่ดินเป็นกลางค่อนข้างไปกรดเล็กน้อย คือระดับ PH 6 - 7.5
               เป็นระดับที่พืชสามารถใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินได้ดี







               เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202                   หน้า 51
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59