Page 58 - เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่
P. 58
- โรคใบด่าง ใบจะมีลักษณะสีเขียวสลับกับสีเขียวจาง หรือสีเหลือง เนื้อใบไม่เรียบ
เนียน เป็นคลื่นและใบมีรูปร่างไม่แน่นอน เช่น โรคใบด่างของยาสูบ โรคใบด่างของถั่วเหลือง เป็นต้น
4) โรคพืชไร่ที่เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา เดิมเรียกว่า ไมโครพลาสมา ลักษณะของโรคคล้าย
แบคทีเรีย แต่เล็กกว่ามีขนาดใหญ่กว่าไวรัส ส่วนใหญ่อาศัยแมลงเป็นพาหะในการถ่ายทอดเชื้อเข้าสู่พืช ท าให้
เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคใบขาวของอ้อย ลักษณะใบจะมีสีขาวซีด ท าให้ต้นพืชแคระแกรนเพราะไม่สามารถ
สังเคราะห์แสงได้ ท าให้อ้อยมีล าน้อย และน้ าหนักลดลงมาก
5) โรคพืชไร่ที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ไส้เดือนฝอยเป็นสัตว์ขนาดเล็กมาก บริเวณปากเป็น
หลอดดูดอาหาร คล้ายเข็มใช้แทงผ่านผนังเซลล์พืช เพื่อดูดอาหาร
6.2 การแพร่ระบาดของโรคเชื้อ
โรคสามารถแพร่ระบาดด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
1. ติดไปกับส่วนขยายพันธุ์ เช่น ติดไปกับเมล็ดหรือท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูก
2. ปลิวไปกับลม สปอร์ของเชื้อราทุกชนิดปลิวไปกับลมได้ ส่วนเชื้อแบคทีเรียและไส้เดือนฝอยติดไป
กับฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กและปลิวไปกับลมได้ง่าย
3. น้ าหรือน้ าฝนที่ตกลงมาแรง ๆ จะท าให้ดินกระเด็นพาเอาเชื้อโรคติดขึ้นมาด้วย
4. แมลงเป็นพาหะส าคัญในการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยเชื้ออาจติดไปกับอวัยวะของแมลง แมลง
บางชนิดจะดูดกินพืชที่เป็นโรคก็จะพาเชื้อโรคติดมาด้วย เมื่อไปดูดกินพืชที่ต้นปกติก็จะท าให้เชื้อโรคติดไปกับ
พืชปกติ เช่น เชื้อไวรัส และไฟโตพลาสมา
5 มนุษย์ มนุษย์เป็นตัวกลางในการแพร่กระจายโรคไปยังที่ต่าง ๆ โดยไม่มีขอบเขต เช่น การ
เคลื่อนย้ายส่วนขยายพันธุ์ของพืชจากต้นพืชที่มีลูกติดอยู่ ดินที่มีเชื้อโรค ผลผลิตทางการเกษตรที่มีเชื้อโรค หรือ
แม้แต่การใช้เครื่องมือการเกษตร เช่น จอบ เสียมก็สามารถพาเชื้อโรคแพร่กระจายจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแห่ง
หนึ่งได้
6.3 การป้องกันก าจัดโรคพืชไร่ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคซึ่งวิธีการป้องกันก าจัดโรคพืชไร่ มีหลายวิธีแต่ละ
วิธีจะเหมาะสมแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของโรค ดังนี้
1. การเตรียมดินด้วยการไถพลิกดิน เพื่อตากดินประมาณ 10-15 วัน แสงแดดจะท าลายเชื้อโรคในดิน
โดยเฉพาะเชื้อราบางชนิด ไข่ของไส้เดือนฝอย เป็นต้น
2. การเลือกเมล็ดพันธุ์หรือท่อนพันธุ์ที่ไม่เป็นโรคมาปลูก รวมถึงการใช้สารเคมีป้องกันก าจัดโรคพืช
คลุกเมล็ดหรือท่อนพันธุ์จะสามารถท าลายเชื้อโรคหรือป้องกันเชื้อโรคก่อนปลูกได้ผลดียิ่งขึ้น
3. การใช้พันธุ์ต้านทานโรคมาปลูก จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ เช่น อ้อยพันธุ์อู่ทอง 2 อู่ทอง 4 ที่
ต้านทานต่อโรคแส้ด า ถั่วเขียวพันธุ์ก าแพงแสน 2 ต้านทานต่อโรคใบจุดและโรคราแป้ง เป็นต้น
4. การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ไม่มีเชื้อโรค โดยการรักษาความสะอาดของอุปกรณ์หลังการใช้อย่าง
สม่ าเสมอ
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ รหัสวิชา 20501 – 2202 หน้า 55