Page 44 - Report_Edit_v7
P. 44
บทที่ 3 ระบบนิเวศ (Ecosystem) และห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain)
3.1 ระบบนิเวศของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย
เมื่อกล่าวถึงค าว่า ระบบนิเวศ หรือ Ecosystem โดยทั่วไปอาจตีความหมายถึงการศึกษาใน
วิชาวิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยาที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง
ความสัมพันธ์มี 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตและระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต
ด้วยกันเอง โดยมีการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในบริเวณนั้น ๆ สู่สิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุบันได้มีการน า
แนวความคิดในเรื่องนี้มีปรับใช้เป็นแนวคิดเชิงอุตสาหกรรมและการจัดการทางธุรกิจมากขึ้น เพื่อวิเคราะห์ให้
เห็นถึงความเป็นไปได้ในการอยู่รอดของอุตสาหกรรมและองค์กรทางธุรกิจ โดยในบทความนี้
จะน าแนวคิดด้านระบบนิเวศมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย ทั้งนี้ค าว่าอุตสาหกรรมดิจิทัล
คอนเทนต์ไทยในบทความนี้จะประกอบไปด้วย ดิจิทัลคอนเทนต์สาขาแอนิเมชัน สาขาเกม และสาขา
คาแรคเตอร์ เป็นส าคัญ
3.1.1 อุตสาหกรรมแอนิเมชัน
3.1.1.1 ระบบนิเวศ (Ecosystem)
อุตสาหกรรมแอนิเมชันเริ่มต้นจากผู้ประกอบการหรือสตูดิโอ ที่เป็นผู้ผลิตแอนิเมชันประเภท
ต่าง ๆ ส าหรับประเทศไทยจะแบ่งประเภทผู้ประกอบการได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ เจ้าของกรรมสิทธิ์
ผู้รับจ้างผลิต และ ผู้จัดจ าหน่าย/ผู้น าเข้า/ผู้ซื้อลิขสิทธิ์ โดยผู้ประกอบการ จะต้องอาศัยทรัพยากรการ
ผลิตที่ส าคัญ คือ บุคลกร เงินทุน และ อุปกรณ์การผลิตได้แก่ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
ในส่วนของบุคลากรด้านการผลิตแอนิเมชัน ปัจจุบันได้มาจากการเรียนการสอนใน
ระดับอุดมศึกษาที่มีการผลิตบุคคลกรอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ
ทั้งนี้บุคลากรที่เข้าไปให้ความรู้และสอนในมหาวิทยาลัยนั้นส่วนใหญ่มาจากผู้ประกอบการด้าน
แอนิเมชันที่ประกอบกิจการในปัจจุบัน ซึ่งการก าหนดหลักสูตรของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันมีการสอน
และฝึกทักษะที่ครอบคลุมเนื้อหาและวิธีการท าแอนิเมชันในทุกขั้นตอน แต่ในการท างานบุคลากรจบ
ใหม่ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถท างานได้เนื่องจากในการท างานจ าเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะเฉพาะทาง
ท าให้ผู้ประกอบการต้องใช้เวลาในการฝึกทักษะและเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรเหล่านี้ก่อนที่จะ
ปฏิบัติงานจริง
ด้านแหล่งเงินทุน เงินทุนส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิตแอนิเมชันมักเป็นเงินทุนของผู้ประกอบการ
เป็นหลัก ท าให้การสร้างผลงานท าได้ไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากในการผลิตแอนิเมชันแต่ละเรื่องมีต้นทุนใน
การผลิตสูง และใช้ระยะเวลาในการผลิตนาน ท าให้ตัวผู้ประกอบการไม่สามารถผลิตแอนิเมชันได้เอง
44