Page 75 - 012สังคมศึกษา-สค21001
P. 75

67


               การปฏิรูปประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาจาอยูหัว (รัชกาลที่ 5)



                        ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ประเทศไทยไดมีการเปลี่ยนแปลงประเทศใหมี
               ความเจริญกาวหนาตามแบบตะวันตก โดยการปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผนดินครั้งใหญ  ซึ่งเปน

               รากฐานที่สําคัญและสงผลมาถึงปจจุบัน การปฏิรูปประเทศมี 3 ดาน ไดแก 1) การปฏิรูปดานการเมืองการ

               ปกครอง 2) การปฏิรูปดานเศรษฐกิจ และ 3) การปฏิรูปดานสังคม


               สาเหตุของการปฏิรูปประเทศ


                        การปกครองตั้งแตสมัยรัชกาลที่ 5 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว  ไดทรงปฏิรูป

               การปกครองแผนดินอยางขนานใหญ ควบคูไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อใหเหมาะสมกับ

               สภาพแวดลอมตาง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ไดแก การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษี
               อากร สวนการปฏิรูปสังคมไดแก การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการ

               คมนาคม เปนตน  สําหรับมูลเหตุสําคัญที่ผลักดันใหมีการปฏิรูปการปกครองมี ดังนี้


                        ดานการเมืองการปกครอง

                        1. มูลเหตุภายใน ทรงพิจารณาเห็นวาการปกครองแบบเดิมไมเหมาะสมกับสภาพทางการปกครอง
               และทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เชน ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนาคมและการติดตอสื่อสาร เริ่มมี

               ความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทําใหประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง

               ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผนดินและพัฒนาไดยาก
                          2.  มูลเหตุภายนอก  ทรงพิจารณาเห็นวา  หากไมทรงปฏิรูปการปกครองแผนดินยอมจะเปน

               อันตรายตอเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักรวรรดินิยมตะวันตก ไดเขามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเชีย
               ตะวันออกเฉียงใต นอกจากนั้น แตเดิมเราตองยินยอมใหประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณา

               เขต คือ  สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได  โดยไมตองอยูใตการบังคับของ
               ศาลไทย เพราะอางวา ศาลไทยลาสมัย


                        ดานเศรษฐกิจ

                        สมัยรัชกาลที่ 5  พระองคทรงเห็นวาถึงแมรายไดของแผนดินจะเพิ่มพูนมากขึ้นอันเปนผลมาจาก

               ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไป แตการที่ระบบการคลังของแผนดินยังไมรัดกุมพอ ทําใหเกิดการรั่วไหลไดงาย จึงทรง

               จัดการปฏิรูปการคลังโดยจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒนขึ้น เพื่อปรับปรุงและจัดระบบภาษีใหทันสมัย ใน พ.ศ.2416

               มีการประกาศใชพระราชบัญญัติงบประมาณ  พ.ศ. 2434  เริ่มโครงการปฏิรูปเงินตราใหม พ.ศ.2442 จัดการ

               สงเสริมการเกษตรและการผลิตเพื่อการสงออกใหมากขึ้น ปรับปรุงการคมนาคมใหทันสมัยโดยการสรางทาง

               รถไฟ ตัดถนนสายตาง ๆ ขุดคลอง  เพื่อใหเกิดความสะดวกในการคมนาคม การขนสงสินคาและผลผลิต

               การเกษตร ซึ่งผลจากการปฏิรูปเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 5 ทําใหรายไดของประเทศเพิ่มมากขึ้น
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80