Page 80 - 012สังคมศึกษา-สค21001
P. 80

72


                        1.  การปฏิรูปดานการคลังรัชกาลที่ 5 โปรดเกลาฯ ใหจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒนขึ้นในป พ.ศ. 2416

               ในพระบรมมหาราชวังทําหนาที่รับผิดชอบรวบรวมเงินภาษีอากรทุกชนิดนําสงพระคลังมหาสมบัติ ทําบัญชี
               รวบรวมผลประโยชน ตรวจตราการเก็บภาษีอากรของหนวยราชการตาง ๆ ใหเรียบรอยรัดกุมรับผิดชอบ

               การจายเงินเดือนในอัตราที่แนนอนใหกับขาราชการฝายพลเรือนและทหารเฉพาะในสวนกลางแทนการจายเบี้ย

               หวัดและเงินป
                        2.  การปฏิรูประบบเงินตรา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงปฏิรูประบบเงินตรา ดังนี้

                                    2.1  การประกาศกําหนดมาตราเงินใหม ใหมีเพียง 2 หนวย คือ บาทกับสตางค สตางคที่
               ออกมาใชครั้งแรก มี 4 ขนาด คือ 20, 10, 5 และ 2 สตางคครึ่ง และประกาศยกเลิกใชเงินพดดวง

                                   2.2  การออกธนบัตรประกาศใชพระราชบัญญัติธนบัตร จัดตั้งกรมธนบัตรขึ้น เพื่อทําหนาที่
               ออกธนบัตรใหไดมาตรฐาน ธนบัตรนั้นเดิมประกาศใชมาตั้งแตรัชกาลที่ 4 แลว

                                  2.3  เปรียบเทียบคาเงินไทยกับมาตรฐานทองคํา ใน พ.ศ. 2451 ประกาศใชพระราชบัญญัติ

               มาตรฐานทองคํา กําหนดอัตราแลกเปลี่ยน 13 บาท เทากับ 1 ปอนดเพื่อใหสอดคลองกับหลักสากล
                        3.  การตั้งธนาคารมีบุคคลคณะหนึ่งรวมมือกอตั้งธนาคารของไทยแหงแรกเรียกวาบุคคลัภย

               (Book Club) ไดรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดตั้งธนาคารจดทะเบียนถูกตองตามกฎหมายเรียกชื่อวา

               แบงคสยามกัมมาจล (Siam Commercial Bank) ตอมาไดเปลี่ยนชื่อเปนธนาคารไทยพาณิชย จํากัด
                            4.  การทํางบประมาณแผนดิน ใน พ.ศ. 2439 รัชกาลที่ 5 โปรดใหมีการจัดทํางบประมาณแผนดิน

               ขึ้นเปนครั้งแรกเพื่อใหการรับจายของแผนดินมีความรัดกุม โปรดใหแยกเงินสวนแผนดินและสวนพระองคออก

               จากกันอยางเด็ดขาดโดยใหพระคลังขางที่เปนผูดูแลพระราชทรัพยสวนพระองค
                           5.  การปรับปรุงทางดานการเกษตรและการชลประทานมีการขุดคลองเกาบางแหงและขุดคลองใหม

               อีกหลายแหง เชน คลองนครเนื่องเขต คลองดําเนินสะดวก คลองประเวศบุรีรมย คลองเปรมประชา คลองทวี
               วัฒนา สรางประตูระบายน้ํา เพื่อชวยสงน้ําใหเขาถึงพื้นที่ที่ทําการเพาะปลูกได ดานการปาไม โปรดใหตั้งกรม

               ปาไม สงเสริมใหปลูกสวนสัก อีกทั้งไดสงนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาปาไม ณ ตางประเทศ



               การปฏิรูปดานสังคม
                        ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสงเสริมใหประชาชนไดรับสิทธิ์ เสรีภาพและความเสมอภาคทางสังคม ดังนี้

                        1.  ทรงยกเลิกระบบไพร  ซึ่งเปนระบบที่ทางราชการเกณฑประชาชนไปทํางานใหแกขุนนาง

               โดยไมไดรับคาจางหรือผลประโยชนตอบแทน  ทําใหประชาชนขาดอิสระในการประกอบอาชีพ  บางครั้งถูกกด
               ขี่ขมเหงจากมูลนายอีกดวย  เปนเหตุใหเกิดการแบงชนชั้นในสังคมไทย ราษฎรไทยไมไดรับความเสมอภาค

               และความยุติธรรมเทาที่ควร  พระองคจึงทรงโปรดเกลาใหยกเลิกแตกระทําแบบคอยเปนคอยไป จนถึง พ.ศ.

               2448 จึงยกเลิกโดยเด็ดขาด
                        2.  ทรงเลิกทาส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงเห็นวาการมีทาสทําใหประเทศชาติ

               ลาหลัง  เปนสังคมที่มนุษยยังไรศักดิ์ศรี  ขาดความเสมอภาค  อิสรภาพและเสรีภาพ ทั้งอารยประเทศตาง ๆ
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85