Page 85 - 012สังคมศึกษา-สค21001
P. 85

77


               ที่สิงคโปร ความตกลงนี้เรียกวา "ความตกลงสมบูรณแบบ เพื่อเลิกสถานะสงคราม ระหวางประเทศไทยกับ

               บริเตนใหญ และอินเดีย" ซึ่งมีสาระสําคัญ ดังนี้
                              1. ไทยจะตองจัดการเรื่องที่ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษใหสูสภาพเดิมกอนวันประกาศ

               สงคราม

                              2. การกระทําที่ไทยทําตออังกฤษหลังจากญี่ปุนเขาประเทศไทยถือเปนโมฆะ และไทยตอง
               จัดการใหสูสภาพเดิม หากมีความเสียหายตองจายคาชดเชยใหอังกฤษ

                              3. ไทยตองยินยอมรับผิดชอบการพิทักษรักษาและคืนในสภาพไมเสื่อมเสีย ซึ่งบรรดา
               ทรัพยสิน สิทธิ และผลประโยชนของอังกฤษทุกชนิดในประเทศไทย

                              4. ไทยจะรวมมืออยางเต็มที่ในบรรดาขอตกลง เพื่อความมั่นคงระหวางประเทศ ซึ่งองคกร
               สหประชาชาติหรือคณะมนตรีความมั่นคงเห็นชอบแลว

                              5. ไทยตองไมตัดคลองขามอาณาเขตไทย เชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับอาวไทย (คลองคอดกระ)

               โดยรัฐบาลอังกฤษมิไดเห็นพองดวยกอน
                              6. ไทยจะใหขาวสารโดยไมคิดมูลคา 1.5 ลานตันแกองคการ ซึ่งรัฐบาลอังกฤษจะไดระบุ

                              7. โดยสัญญาฉบับนี้อังกฤษและอินเดียจะสนับสนุนไทยเขาเปนสมาชิกสหประชาชาติ

                       การที่ไทยเอาตัวรอดไดทั้ง ๆ ที่อยูในฝายประเทศแพสงครามนี้ ขบวนการเสรีไทยมีสวนชวยเหลือ
               เปนอยางมาก ทําใหประเทศสัมพันธมิตร โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกากลับเขาใจเมืองไทย  ขณะที่ ม.ร.ว. เสนีย

               ปราโมช อัครราชทูตไทยประจําสหรัฐอเมริกา ไดประทวงการประกาศสงครามของรัฐบาลไทย และไดรวบรวม

               คนไทยในสหรัฐอเมริกาขึ้นเปนขบวนการเสรีไทยตอตานญี่ปุน ในอังกฤษก็มีขบวนการเสรีไทยเชนเดียวกัน
               ติดตอกับหนวยพลพรรคใตในดินประเทศ ซึ่งมีนายปรีดี พนมยงค ผูสําเร็จราชการแทนพระองคเปนหัวหนา

               เสรีไทยทั้งหลายเตรียมที่จะจับอาวุธขึ้นตอสูกับญี่ปุน ตามวันเวลาที่นัดหมาย พรอม ๆ กับกําลังของ
               สัมพันธมิตรที่จะรุกเขามาทางพมา แตญี่ปุนไดยอมแพ

                         3.2  ผลกระทบดานเศรษฐกิจและสังคม

                              การที่ไทยเขารวมสงครามโลกครั้งที่  2  สงผลใหเกิดความเสียหายตอเศรษฐกิจไทยเปน
               อยางมาก เกิดภาวะการขาดแคลนสินคาอุปโภคบริโภค ในดานสังคมก็เกิดปญหาโจรผูรายชุกชุม อีกทั้งประสบ

               ปญหาภาวะเงินเฟอ ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังตองแบกรับภาระชดใชคาเสียหายที่เรียกวา
               คาปฏิกรรมสงคราม หมายถึงของมีคาที่ตองจายเปนคาชดเชยเพื่อใหครอบคลุมความเสียหายระหวางสงคราม

               ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงเงินหรือสินคาเปลี่ยนมือ มากกวาการถายโอนกรรมสิทธิ์ ที่สําคัญการแกปญหาและ

               เยียวยาความขาดแคลนยากไรในชวงสงครามและหลังสงครามไดกลายเปนปญหาใหญที่รัฐบาลขณะนั้นตอง
               แกไขฟนฟูอยางเรงดวน เพื่อใหบานเมืองคืนสูภาวะปกติโดยเร็ว
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90