Page 105 - ภัมภีร์กศน.
P. 105
เวลา การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงเป็นการเรียนรู้ที่มีความสำคัญที่ทุกคน
สามารถกระทำได้ในทุกช่วงวัยของชีวิตและเรียนรู้ได้ในทุกสถานที่ ตั้งแต่
เกิดจนตาย เป็นการเรียนรู้ที่ครอบคลุมการศึกษาทุกรูปแบบ โดยทุกคนมี
ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในโอกาสทางการศึกษา และมีวิธี
การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต รวมทั้งสาระการเรียนรู้ที่เชื่อม
โยงกับชีวิตจริง ทุกคนมีอิสระในการเลือกที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการจะ
เรียนรู้และเลือกวิธีเรียนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความสามารถของตนใน
การที่จะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องให้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ รวม
ทั้งทักษะในการแสวงหาความรู้หรือมีเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไป
ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิต
แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม
เป็นเรื่องท้าทาย ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนและดำเนินการอย่างจริงจัง
จากรัฐ การสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เป็นระบบ ควรมีกรอบแนวคิดใน
การดำเนินงาน และทิศทางที่ชัดเจน ดังนี้
1. ปรับปรุงการเข้าถึง คุณภาพ และความเป็นธรรมในการเรียนรู้
2. สร้างรากฐานที่มั่นคงด้านทักษะสำหรับทุกคน
3. ให้ความสำคัญกับทุกรูปแบบของการเรียนรู้ ไม่เพียงเฉพาะ
การศึกษาที่เป็นทางการ เท่านั้น
4. จัดสรรทรัพยากร และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากทุก
ภาคส่วน สนับสนุนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกช่วงเวลาในชีวิต
5. ความร่วมมือของทุกภาคส่วน
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.