Page 118 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 118

ตลาดใดๆ ตลอดจนความถนัดของตนเสียก่อน แล้วจึงตัดสินใจเลือก ตลาดเป้าหมาย กลยุทธ์ที่สําคัญใน

                     การเลือกตลาดเป้าหมาย แบ่งออกได้ 3 แนวทางด้วยกัน คือ

                            1. กลยุทธ์ตลาดรวม (Market Aggregation) หรือตลาดทั้งหมด (Mass Market) หรือ เรียก

                     อีกอย่างหนึ่งว่า กลยุทธ์ตลาดที่ไม่แตกต่างกัน (Undiferentiated Market) ซึ่งผู้ประกอบการ เลือก

                     ตลาดทั้งหมดหรือตลาดรวมเป็นตลาดเดียว หรือตลาดเป้าหมาย ทั้งนี้เนื่องจากการมองว่า ตลาดมีความ
                     ต้องการคล้ายกัน หรือไม่มีความแตกต่างกัน ในกรณีนี้บริษัทจึงสามารถใช้ส่วนประสม ตลาดเพียงหนึ่ง

                     ชุด ในการสนองตอบความต้องการของคนจํานวนมากในตลาดรวมให้ได้มากที่สุด

                     อย่างไรก็ดี กลยุทธ์นี้ใช้ได้ผลน้อยมาก เพราะสภาพปัจจุบันมีการแข่งขันที่รุนแรง บริษัท ต่างๆ พยายาม

                     สร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ (Product Differentiation) ให้แตกต่างจาก คู่แข่งขัน และเพื่อให้

                     สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างกัน

                            2.กลยุทธ์มุ่งเฉพาะตลาดส่วนเดียว (Single Segment Concentration Strategy)

                     หมายถึง การเลือกตลาดเป้าหมายเพียงส่วนเดียว จากส่วนของตลาด (Single Segment) จากตลาด
                     รวม (Total Market) จากนั้นจึงกําหนดส่วนประสมการตลาดสําหรับส่วนตลาดที่เลือก กลยุทธ์นี้ เหมาะ

                     สําหรับบริษัทขนาดเล็ก ซึ่งมีทรัพยากรจํากัด และมีความชํานาญในการผลิตสินค้าสําหรับ กลุ่มเป้าหมาย

                     เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น ไนโซรัล ซึ่งผลิตแชมพูกําจัดรังแคเพียงอย่าง เดียว โดยไม่ผลิต
                     แชมพูเพื่อผมประเภทอื่น


                            3. กลยุทธ์หลายส่วนตลาด (Multiple Segment Strategy) หรือการตลาดที่แตกต่างกัน
                     (Differentiated Marketing) เป็นการเลือกกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการแตกต่างกันสองกลุ่มขึ้นไป และ

                     พัฒนาส่วนประสมการตลาดหรือโปรแกรมการตลาดในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

                     โตโยต้าผลิตรถกระบะ Tiger สําหรับกลุ่มเป้าหมายที่นิยมใช้รถกระบะ และผลิต Camry สําหรับผู้ที่
                     ต้องการใช้รถเก๋ง บริษัทโตโยต้าจะใช้ส่วนประสมการตลาด หรือแผนการตลาด ที่แตกต่างกันไปในแต่ละ

                     กลุ่ม

                            ส่วนประสมทางการตลาด หมายถึง “ปัจจัยทางการตลาดที่ควบคุมได้ ซึ่งบริษัทต้องใช้ เป็น

                     เครื่องมือร่วมกัน เพื่อสนองความต้องการของตลาดเป้าหมาย” ส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย

                     ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) การจัดจําหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion)










                                                                                           การบรรจุภัณฑ์ 115
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123