Page 46 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 46
36
1.6.2.5 Jigsaw เป็ นรูปแบบการสอนที่เหมาะกับวิชาที่เกี่ยวข้องกับการ
บรรยายเช่น สังคมศึกษา วรรณคดี บางส่วนของวิชาวิทยาศาสตร์รวมทั้งวิชาอื่น ๆ ที่เน้นการ
พัฒนาความรู้ความเข้าใจมากกว่าพัฒนาทักษะ สมาชิกในกลุ่มมี 6 คน ความรู้ต่างระดับกัน
สมาชิกแต่ละคนไปเรียนร่วมกับสมาชิกกลุ่มอื่น ๆ ในหัวข้อที่ต่างกันออกไป แล้วทุกคน
กลับมากลุ่มของตน สอนเพื่อนในสิ่งที่ตนไปเรียนร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่น ๆ มาแล้ว การ
ประเมินผลเป็นรายบุคคล แล้วรวมเป็นคะแนนของกลุ่ม อาจเรียกวิธีการนี้ว่า “การเรียนแบบ
กลุ่มร่วมมือโดยข้ามกลุ่ม”
สรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือทั้ง 5 รูปแบบ เป็นการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วย
สมาชิกที่มีความรู้ ความสามารถแตกต่างกัน โดยแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และใน
ความส าเร็จของกลุ่มอย่างแท้จริง ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งสามารถดัดแปลง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทุกวิชาตามความเหมาะสมแต่ละเนื้อหาวิชา ซึ่งแต่ละรูปแบบมี
ความส าคัญและมีความจ าเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
1.6.3 ผลดีของการเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ส านักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา (2546 : 127-128) ได้สรุปผลดี
ของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เกิดผลกับผู้เรียน ดังนี้
1. ผลที่เกิดขึ้นทางด้านพุทธพิสัย
1.1 มีความคงทนในการเรียนรู้ มีการน าเอาสิ่งที่เรียนรู้แล้วไปใช้ และ
เกิดการถ่ายโอนข้อเท็จจริง มโนคติและหลักการ
1.2 มีความสามารถทางด้านภาษา
1.3 สามารถแก้ปัญหาได้
1.4 มีความสามารถในการท างานร่วมกัน
1.5 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
1.6 เกิดความตระหนักและใช้ความสามารถของตนเอง
1.7 มีความสามารถในการแสดงบทบาทที่ได้รับมอบหมาย