Page 48 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 48
38
ทิศนา แขมมณี (2548 : 101) กล่าวถึงการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ส่งผลดีต่อผู้เรียนใน
ด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น (Greater Effects to Achieve) การ
เรียนรู้แบบร่วมมือช่วยให้ผู้เรียนมีความพยายามที่จะเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมายเป็นผลให้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีผลงานมากขึ้น การเรียนรู้มีความคงทนมากขึ้น (Long
Term Retention)มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เหตุผลดีขึ้น
และคิดอย่างมีวิจารณญาณมากขึ้น
2. มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น (More Positive Relationships Among
students) การเรียนแบบร่วมมือช่วยให้ผู้เรียนมีน ้าใจนักกีฬามากขึ้น ใส่ใจผู้อื่นมากขึ้น เห็น
คุณค่าของความแตกต่าง ความหลากหลาย การประสานสัมพันธ์และการรวมกลุ่ม
3. มีสุขภาพดีขึ้น (Greater Psychological Health) การเรียนรู้แบบร่วมมือช่วยให้
ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดีขึ้นมีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองและมีความสามารถในการเผชิญกับ
ความเครียด และความผันแปรต่าง ๆ
สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งผลดีต่อผู้เรียนหลายด้าน เช่น
ด้านพุทธิพิสัย ซึ่งการเรียนรู้แบบร่วมมือช่วยให้ผู้เรียนมีความพยายามที่จะเรียนรู้ให้บรรลุ
เป้าหมายเป็นผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมีผลงานมากขึ้น การเรียนรู้มีความ
คงทนมากขึ้น ด้านจิตพิสัย ช่วยให้ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดีขึ้นมีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง
และมีความสามารถในการเผชิญกับความเครียด และความผันแปรต่าง ๆ และด้านทักษะ
พิสัย การเรียนแบบร่วมมือช่วยให้ผู้เรียนมีน ้าใจนักกีฬามากขึ้น ใส่ใจผู้อื่นมากขึ้น เห็นคุณค่า
ของความแตกต่าง ความหลากหลายการประสานสัมพันธ์และการรวมกลุ่ม
1.7 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TAI
1.7.1 ความหมายของ TAI
สมบัติ การจนารักพงษ์ (2547 : 37-38) ได้ระบุถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนแบบ TAI (Team Assisted Individualization) หมายถึง วิธีสอนที่ผสมผสานระหว่าง