Page 50 - 18_การปฏบตตอเดก เยาวชน สตร_Neat
P. 50

๔๑




                             ๓)  ในการถามปากคําผูเสียหายหรือพยานซึ่งเปนเด็ก  หากนักจิตวิทยาหรือ
                 นักสังคมสงเคราะหเห็นวา การถามปากคําเด็กคนใดหรือคําถามใด อาจมีผลกระทบกระเทือนตอจิตใจ

                 เด็กอยางรุนแรง ใหพนักงานสอบสวนถามผานนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะหเปนการเฉพาะ
                 ตามประเด็นคําถามของพนักงานสอบสวน โดยมิใหเด็กไดยินคําถามของพนักงานสอบสวน และ
                 หามมิใหถามเด็กซํ้าซอนหลายครั้ง โดยไมมีเหตุอันสมควร
                             ๔)  เปนหนาที่ของพนักงานสอบสวนที่จะตองแจงใหนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห

                 บุคคลที่เด็กรองขอและพนักงานอัยการทราบ และแจงสิทธิดังกลาวขางตนใหผูเสียหายหรือพยานที่เปน
                 เด็กทราบ

                             ๕)  หากผูเสียหายหรือพยานที่เปนเด็ก ไมพอใจ นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห
                 หรือพนักงานอัยการที่เขารวมในการจดบันทึกนั้น ผูเสียหายหรือพยานที่เปนเด็กตั้งรังเกียจได ซึ่งมาตรา
                 ๑๓๓ ทวิ วรรคสาม ไดระบุไว แตมิไดระบุถึงหลักเกณฑหรือสาเหตุในการตั้งรังเกียจ เพียงแตระบุให
                 เปลี่ยนตัวบุคคลดังกลาว ดังนั้น จึงควรคํานึงถึงความพอใจและสบายใจของเด็กเปนสําคัญ




                  ขอสังเกต
                        (๑)  โดยทั่วไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไดกําหนดใหผูแทนโดยชอบธรรม มีอํานาจจัดการแทน
                  ผูเสียหาย ซึ่งเปนผูเยาวได หากเปนกรณีความผิดที่ไดกระทําตอผูเยาวซึ่งอยูในความดูแล และผูแทนโดยชอบธรรมที่มีอํานาจจัดการ
                  แทนผูเสียหายซึ่งเปนผูเยาวตามมาตรา ๕(๑) เชนวานี้ ยอมมีอํานาจรองทุกขแทนผูเสียหายที่เปนผูเยาวไดตามมาตรา ๓(๑) หากเปน
                  กรณีที่ผูแทนโดยชอบธรรมใชอํานาจจัดการแทนตามมาตรา ๕(๑) ประกอบ มาตรา ๓(๑) รองทุกขแทนผูเสียหายที่เปนเด็ก พนักงาน
                  สอบสวนยอมไมอยูในบังคับที่จะตองปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๔/๑ กลาวคือพนักงานสอบสวนไมตองนําบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๓ ทวิ
                  วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใชบังคับโดยอนุโลมแกการจดบันทึกคํารองทุกขของผูแทนโดยชอบธรรมแตอยางใด
                  ทั้งนี้ เพราะวัตถุประสงคหลักของการแกไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๒๔/๑ ก็คือมุงประสงคจะคุมครองเด็กที่เขาสูกระบวนการยุติธรรม
                  ไมวาจะในฐานะเปนผูเสียหาย ผูตองหา หรือพยาน มิใหเด็กไดรับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรม หรือปองกันมิใหมีการ
                  กระทําการใดๆ อันอาจเปนการซํ้าเติมจิตใจเด็ก ดังนั้น มาตรา ๑๒๔/๑ ที่เพิ่มเติมขึ้นใหมนี้ จึงไมอาจนําไปใชบังคับแกกรณี
                  ผูแทนโดยชอบธรรมใชอํานาจจัดการแทนตามมาตรา ๕(๑) ประกอบมาตรา ๓(๑) รองทุกขแทนผูเสียหายที่เปนผูเยาว ซึ่งอยู
                  ในความดูแลได หากแตจะมีผลใชบังคับสําหรับกรณีที่ผูเสียหายเปนเด็กอายุไมเกิน ๑๘ ป ซึ่งเปนผูเสียหายโดยตรงรองทุกข
                  ดวยตนเองเทานั้น
                            และมาตรา ๑๒๔/๑ นี้ใชบังคับทั้งที่เปนการรองทุกขตอพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๑๒๓ และกรณีที่
                  ผูเสียหายรองทุกขตอพนักงานฝายปกครองหรือตํารวจ ตามมาตรา ๑๒๔ (ธานิศ เกศวพิทักษ, ๒๕๕๗)
                        (๒)  การนับอายุของผูเสียหายที่เปนเด็กอายุไมเกิน ๑๘ ปนั้น จะใชหลักเกณฑอยางไรในเรื่องนี้ นายธานิศ
                  เกศวพิทักษ รองประธานศาลฎีกา ไดใหความเห็นวา “เจตนารมณของมาตรา ๑๒๔/๑ ที่เพิ่มเติมใหมที่มุงประสงคจะคุมครอง
                  ผูเสียหายที่เปนเด็กที่เขาสูกระบวนการยุติธรรม มิใหเด็กไดรับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมหรือปองกันมิใหมีการ
                  กระทําใดๆ อันอาจเปนการซํ้าเติมจิตใจเด็กแลว ก็นาจะตองนับอายุของผูเสียหายที่เปนเด็กจนถึงวันที่ผูเสียหายที่เปนเด็ก
                  รองทุกข ดังนั้นแมในวันที่มีการกระทําความผิด ผูเสียหายซึ่งเปนเด็กยังมีอายุไมเกิน ๑๘ ป แตในวันที่ผูเสียหายรองทุกข
                  ผูเสียหายมีอายุเกิน ๑๘ ปแลว กรณีไมนาจะตองดวยหลักเกณฑตามมาตรา ๑๒๔/๑” (ธานิศ เกศวพิทักษ, ๒๕๕๗)
                        (๓)  หลักเกณฑมาตรา ๑๒๔/๑ คํานึงถึงวุฒิภาวะของผูเสียหายซึ่งเปนเด็ก โดยใชเกณฑอายุไมเกิน ๑๘ ปเทานั้น
                  หาใชหลักเรื่อง “ผูเยาว” หรือ “ผูบรรลุนิติภาวะ” ไม ดังเห็นไดจาก
                            บันทึกสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประกอบรางพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
                  วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... เรื่องเสร็จที่ ๔๔๐/๒๕๕๐ หนา ๖ มีขอสังเกตของสํานักงานอัยการสูงสุด เกี่ยวกับ
                  เจตนารมณของการแกไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๒๔/๑ ตามพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                  (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๕๐ มีขอความตอนหนึ่งวา
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55