Page 20 - วารสารสุขภาพ สำนักอนามัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1
P. 20
พบแพทย์ สนอ.
หมอครอบครัวส�ำนักอนำมัยำมัย
หมอครอบครัวส�ำนักอน
ดูแล
ดูแล ใส่ใจสุขภาพคนกรุงเทพฯ ใส่ใจสุขภาพคนกรุงเทพฯ
พญ.ณัฐินี อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผู้อ�านวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง
ส�านักอนามัย กรุงเทพมหานคร
1. แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวคืออะไร
เวชศาสตร์ครอบครัว คือ สาขาการแพทย์เฉพาะทางแขนงหนึ่งที่รวมความรู้ทางการแพทย์และสาขาวิชา
ทางสังคมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดูแลสุขภาพของครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคม ตลอดจน
ความสัมพันธ์ของบุคคลภายในครอบครัว โดยมีหลักการเหมือนๆ กัน ทั่วโลกมีสมาคมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
(WONCA - The World organization of Family Doctor) และมีวารสารของตนเอง (American Family
Physicians, และอื่นๆ)
2. แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมีความหมายต่างจากเวชปฏิบัติครอบครัวหรือไม่ อย่างไร
เวชปฏิบัติครอบครัว (Family Practice) เป็นการท�าเวชปฏิบัติโดยอาศัยหลักการของ Family Medicine
ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ ขนบประเพณี ศาสนา และอื่นๆ ผู้ที่ท�าเวชปฏิบัติครอบครัวไม่จ�าเป็นต้องเป็น
แพทย์ครอบครัว (Family physicians) เท่านั้น จะเป็นแพทย์แขนงอื่นก็ได้
3. หลักการท�างานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวคืออะไร
1. เป็นแพทย์ที่ดูแลแต่แรกทุกเรื่อง และให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสเข้าสู่ระบบการบริบาลสุขภาพ (Care on ffiirst
contact basis) เป็นระบบบริการทางการแพทย์ที่ตั้งอยู่ในชุมชน อยู่ใกล้บ้านผู้ป่วย (Primary Care) ประชาชน
ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐานได้อย่างทั่วถึง สะดวกสบาย เป็นการดูแลสุขภาพทุกเรื่องตั้งแต่แรก
สามารถให้บริการอย่างสม�่าเสมอ ตามความจ�าเป็นที่ประชาชนต้องการ พร้อมเน้นการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
2. การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง (Continuing care) คือ การดูแลประชาขนในเขตรับผิดชอบทุกคน
นับตั้งแต่แรก ขณะสบายดี เริ่มป่วย ระยะสุดท้ายของการป่วยจนกระทั่งเสียชีวิต เป็นการดูแลตลอดชีวิตของคนๆนั้น
รวมถึงครอบครัวและชุมชน โดยทีมสุขภาพที่มีความเข้าใจและตั้งใจที่ดีในการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ก่อให้เกิดความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ความศรัทธา และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย (doctor-patient
relationship)
3. มีการดูแลผู้ป่วยแบบครอบคลุม ผสมผสาน (Comprehensive care) คือ การดูแลผู้ป่วยที่มิได้ดูแลผู้ป่วย
เฉพาะการรักษาโรคแต่เพียงอย่างเดียว แต่ดูแลสุขภาพครบถ้วนทุกด้าน ตั้งแต่การรักษาพยาบาลผู้ป่วย (treatment)
ให้หายจากโรค การป้องกันโรค (prevention) ไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย การส่งเสริมสุขภาพ (promotion) ให้มีสุขภาพ
วารสารสุขภาพุขภาพ
20 20 วารสารส
ส
ส�านักอนามัย�านักอนามัย